อุปกิเลส ๑๐
อุปกิเลส ๑๐ เมื่อพระโยคาวจรได้ญาณที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ขึ้น ถ้าพระโยคาวจรขาดสติ หลงเพลิดเพลินอยู่กับวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ นั้น จะไม่ได้บรรลุมรรคผล ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้เกิดวิปลาสเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์ด้วย วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ ๑. โอภาส แสงสว่าง ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ ๓. ปัสสัทธิ ความสงบกาย-จิต ๔. สุข ความสุข ๕. สัทธา (อธิโมกขะ) ความเชื่อมั่นว่าตนปฏิบัติถูกทาง ๖. ปัคคาหะ ความเพียรมาก ๗. อุปัฏฐาน สติปรากฏสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ ๘. ญาณ ความรู้ มีปัญญากล้า ๙. อุเบกขา ความวางเฉย ๑๐. นิกันติ ความใคร่ พอใจ เพลิน คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์งานบำเพ็ญกุศลศพ ครบ ๑ ปี พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี |
อธิบาย
๑. โอภาส แสงสว่างเกิดขึ้นในจิตทำให้รู้เห็นทุกสิ่ง ที่อยู่ภายในห้อง บริเวณอาคารหรือแผ่กว้าง ๑. เกิดในจักขุทวารดุจฟ้าแลบ เป็นประกายดังตีเหล็กไฟออกไปหลาย ก.ม. แสงสว่างนี้ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้ว หรือมีแสงสว่างเท่าหิ่งห้อย เท่าไฟฉาย ตารถยนต์รถไฟ |
๒. ปีติ แปลว่า ความอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
ขุททกาปีติ น้ำตาไหล ขณิกาปีติ ขนจะลุกซู่ซ่าเป็นพัก ๆ โอกกันติกาปีติ ตัวโยกไปโยกมา หรือเกิดอาการดิ้นเหมือนอย่างกับการปลุกพระ หรือผีเจ้าเข้าสิง อุเพ็งคาปีติ ลอยขึ้นทั้งตัว ลอยไปรอบสถานที่ หรือว่าลอยไปไกล ๆ ก็ได้ ผรณาปีติ รู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวทะลุ มีสิ่งต่าง ๆ หลั่งไหลจากร่างกายออกมามากมาย หรือบางรายก็รู้สึกว่า แตกระเบิดละเอียดไปเลยก็มี ป.ล. คัดลอกคำอธิบายปีติแบบต่าง ๆ จากหนังสือกรรมฐาน ๔๐ พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ |
๓. ปัสสัทธิ จิตเจตสิกมีความสงบ
๑. สงบเงียบดุจเข้าผลสมาบัติ |
๔. สุข มีความสุขสบายดีมาก
๑. มีความยินดีมาก เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่อยากออก อยากอยู่นาน ๆ |
๕. สัทธา เชื่อและเลื่อมใสเกินไป
๑. อยากให้ทุกคนได้เข้าปฏิบัติ |
๖. ปัคคาหะ อาจารย์ยิ่งชม ยิ่งขยันมากเกินไป ทำให้ผู้นั้นขาดสติไปก็เป็นได้
๑. ตั้งใจปฏิบัติจริง ยอมสู้ตายไม่ถอยหลัง มุ่งแต่จะให้สำเร็จถ่ายเดียว |
๗. อุปัฏฐานะ สติมากเกินไป คิดแต่อดีต-อนาคต ทิ้งอารมณ์ปัจจุบันส่วนมาก
๑. ระลึกแต่เรื่องอดีตที่ผ่านมานานแล้ว เช่นสมัยเป็นเด็ก |
๘. ญาณะ เอาความรู้ด้านปริยัติกับปฏิบัติมาเปรียบเทียบกัน ทำให้เข้าใจผิด คิดว่าถูก อวดดี สู้ครู
๑. ชอบวิพากษ์วิจารณ์อารมณ์ต่าง ๆ เช่น พองเป็นเกิด ยุบเป็นดับ ฯลฯ |
๙. อุเบกขา ใจเฉย ๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ใจหลง ๆ ลืม ๆ
๑. บางครั้งลืมกำหนดเห็นพอง-ยุบ ใจเลื่อนลอยคล้ายกับไม่ได้นึกคิดอะไร |
อุปกิเลส ๑๐ มีความละเอียดมากขนาดนี้
ทำอย่างไรถึงจะไม่ติดอยู่ในอุปกิเลสได้ครับ รู้สึกว่ายากมากครับ |
๑๐. นิกันติ พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ
๑. พอใจในแสงสว่าง ปีติ สุข สัทธา ความเพียร ญาณ อุเบกขา |
ถ้าอุปกิเลสเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งเกิดขึ้น ให้ผู้ปฏิบัติรีบกำหนดทันทีว่า "เห็นหนอ ๆ" หรือถ้านึกอะไรไม่ได้ ให้กำหนดว่า "รู้หนอ ๆ" ก็จะหายไป ถ้าหายไปช้า ๆ พึงทราบเถิดว่า "สติ สมาธิ ปัญญาของเราอ่อนไป" ให้พยายามลุกขึ้นไปเดินจงกรมเพิ่มประมาณสัก ๕-๑๐-๒๐ นาที จึงจะได้ผลดี ญาณยังอยู่ในเขตสมถะ
ถ้ากำหนดเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง สามครั้งแล้วหายไป แสดงว่า "สติ สมาธิ ปัญญาของเราดีขึ้นบ้าง" ให้นั่งต่อไปได้ ญาณดีขึ้น เข้าเขตอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ๆ แล้วขอให้พยายามต่อไป อย่าประมาทและอย่านอนใจ ถ้ากำหนดแล้วหายวูบไปเลย ตัวเองก็ผงะไปข้างหลัง ตกใจเล็กน้อยอย่างนี้ดี เข้าเขตญาณที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณอย่างแก่ เป็นภาวนามยปัญญา ตั้งแต่นี้ไปสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานแยกกันตรงนี้ |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:07 |
ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน
เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.