กระดานสนทนาวัดท่าขนุน

กระดานสนทนาวัดท่าขนุน (https://www.watthakhanun.com/webboard/index.php)
-   พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงปู่สาย อคฺควํโส) (https://www.watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=17)
-   -   อุปกิเลส ๑๐ (https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=667)

ชินเชาวน์ 07-07-2009 21:40

อุปกิเลส ๑๐
 
อุปกิเลส ๑๐

เมื่อพระโยคาวจรได้ญาณที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ขึ้น ถ้าพระโยคาวจรขาดสติ หลงเพลิดเพลินอยู่กับวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ นั้น จะไม่ได้บรรลุมรรคผล ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้เกิดวิปลาสเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์ด้วย

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ
๑. โอภาส แสงสว่าง
๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
๓. ปัสสัทธิ ความสงบกาย-จิต
๔. สุข ความสุข
๕. สัทธา (อธิโมกขะ) ความเชื่อมั่นว่าตนปฏิบัติถูกทาง
๖. ปัคคาหะ ความเพียรมาก
๗. อุปัฏฐาน สติปรากฏสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ
๘. ญาณ ความรู้ มีปัญญากล้า
๙. อุเบกขา ความวางเฉย
๑๐. นิกันติ ความใคร่ พอใจ เพลิน


คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์งานบำเพ็ญกุศลศพ ครบ ๑ ปี
พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อคฺควํโส)
อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี

ชินเชาวน์ 14-07-2009 14:56

อธิบาย

๑. โอภาส แสงสว่างเกิดขึ้นในจิตทำให้รู้เห็นทุกสิ่ง ที่อยู่ภายในห้อง บริเวณอาคารหรือแผ่กว้าง
๑. เกิดในจักขุทวารดุจฟ้าแลบ เป็นประกายดังตีเหล็กไฟออกไปหลาย ก.ม. แสงสว่างนี้ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้ว หรือมีแสงสว่างเท่าหิ่งห้อย เท่าไฟฉาย ตารถยนต์รถไฟ
๒. สว่างทั้งห้องมองเห็นตัวเอง
๓. สว่างคล้ายห้องไม่มีฝากั้น
๔. สว่างจนเห็นสถานที่ต่าง ๆ มาปรากฏ
๕. สว่างจนเห็นประตูเปิดเอามือเปิดบ้าง ลืมตาดูบ้าง ยกมือบ้าง
๖. สว่างจนเห็นสีดอกไม้ต่าง ๆ สวยงามดูเพลิน
๗. เห็นทะเลตั้งโยชน์ จนเรียกเพื่อนมาดูบ้าง
๘. มีแสงพุ่งออกจากร่างกายและหัวใจของตัวเอง
๙. สว่างจนเนรมิตรูปช้างได้ (จนอาจารย์วิ่งหนี ลูกศิษย์ยึดจีวรไว้ก็มี)

ชินเชาวน์ 21-07-2009 20:08

๒. ปีติ แปลว่า ความอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
ขุททกาปีติ น้ำตาไหล
ขณิกาปีติ ขนจะลุกซู่ซ่าเป็นพัก ๆ
โอกกันติกาปีติ ตัวโยกไปโยกมา หรือเกิดอาการดิ้นเหมือนอย่างกับการปลุกพระ หรือผีเจ้าเข้าสิง
อุเพ็งคาปีติ ลอยขึ้นทั้งตัว ลอยไปรอบสถานที่ หรือว่าลอยไปไกล ๆ ก็ได้
ผรณาปีติ รู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวทะลุ มีสิ่งต่าง ๆ หลั่งไหลจากร่างกายออกมามากมาย หรือบางรายก็รู้สึกว่า แตกระเบิดละเอียดไปเลยก็มี


ป.ล. คัดลอกคำอธิบายปีติแบบต่าง ๆ จากหนังสือกรรมฐาน ๔๐ พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

ชินเชาวน์ 04-08-2009 21:30

๓. ปัสสัทธิ จิตเจตสิกมีความสงบ
๑. สงบเงียบดุจเข้าผลสมาบัติ
๒. ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ
๓. กำหนดได้แนบเนียนดี
๔. เยือกเย็น สบาย ไม่กระวนกระวายใจ
๕. พอใจในการกำหนด
๖. ความรู้สึกเงียบไปคล้าย ๆ กับคนนอนหลับ
๗. รู้สึกเบากระปรี้กระเปร่า คล่องแคล่วดี
๘. สมาธิดี ไม่เผลอ ไม่ลืม
๙. ความคิดดี ปลอดโปร่งดี
๑๐. คนนิสัยดุร้าย เหี้ยมโหด ทารุณ ปัสสัทธิจะทำให้ละความชั่ว ทำแต่ความดี
๑๑. คนเกเรติดอบายมุขจะเปลี่ยนนิสัยเดิมได้ ดุจหน้ามือเป็นหลังมือ
๑๒. ไม่ต้องกวดขันกำหนดจริงจัง ใจก็ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์แล้ว
๑๓. สหชาตธรรม เช่น ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา อุชุกตา ปาคุญญตา ต่างเข้ามาสมทบกันจึงยังกายให้รู้สึกเบา นุ่มนวล แช่มช้อย อ่อนโยน ไม่ใช่อ่อนแอ

ชินเชาวน์ 05-08-2009 21:15

๔. สุข มีความสุขสบายดีมาก
๑. มีความยินดีมาก เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่อยากออก อยากอยู่นาน ๆ
๒. อยากพูดผลที่ตนได้ออกไป ให้ผู้อื่นทราบ
๓. ภูมิใจ ดีใจ คล้ายว่าจะระงับไว้ไม่ได้
๔. บางคนถึงกับพูด "ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบความสุขเช่นนี้เลย"
๕. ทำให้นึกถึงบุญคุณครูอาจารย์มาก
๖. บางทีเห็นอาจารย์มาอยู่ใกล้ ๆ คล้ายกับว่าท่านจะมาช่วยฉะนั้น
๗. มีสีหน้าอิ่มเอิบ ร่าเริง เบิกบาน

ชินเชาวน์ 06-08-2009 20:50

๕. สัทธา เชื่อและเลื่อมใสเกินไป
๑. อยากให้ทุกคนได้เข้าปฏิบัติ
๒. อยากให้ผู้ใกล้ชิดได้เข้าปฏิบัติ
๓. อยากสนองบุญคุณของสำนัก
๔. อยากให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้าไปไกลรวดเร็วกว่านี้
๕. อยากทำบุญ ทำทาน สร้าง ซ่อมแซมถาวรวัตถุต่าง ๆ
๖. นึกถึงบุญคุณผู้ชวนเข้าปฏิบัติ
๗. อยากถวายของครูบาอาจารย์
๘. อยากออกบวช
๙. อยากจะอยู่นาน ๆ ไม่อยากออกง่าย
๑๐. อยากอยู่ในที่เงียบสงัด
๑๑. ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเต็มที่
๑๒. เลื่อมใส เข้าใจแน่ว่า ธรรมที่ปฏิบัตินี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้อย่างแน่นอน
๑๓. ปักใจเชื่อมั่นว่า ธรรมที่ปฏิบัติอยู่นี้ เป็นธรรมวิเศษสุด ไม่มีธรรมใดเปรียบได้
๑๔. อยากไปประกาศโฆษณาธรรม
๑๕. รู้สึกพระคุณของครูบาอาจารย์ที่แนะนำ อบรมให้คนได้รู้ได้เห็น โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก

ชินเชาวน์ 19-08-2009 21:56

๖. ปัคคาหะ อาจารย์ยิ่งชม ยิ่งขยันมากเกินไป ทำให้ผู้นั้นขาดสติไปก็เป็นได้
๑. ตั้งใจปฏิบัติจริง ยอมสู้ตายไม่ถอยหลัง มุ่งแต่จะให้สำเร็จถ่ายเดียว
๒. เพียรเกินไป แต่สติสัมปชัญญะอ่อน ทำให้ฟุ้งซ่าน ใจไม่เป็นสมาธิ
๓. มีความแกร่งกล้าในการปฏิบัติ
๔. ขยัน อาจหาญ อดทน ไม่เกียจคร้าน
๕. ขยันเองเป็นนิสสัย ไม่ต้องมีใครเตือน ใครบอก บากบั่น ไม่ท้อถอย
๖. พยายามดี ประคองใจไว้มั่นคง เสียดายเวลา ไม่อยากพูดกับใคร
๗. ปฏิบัติจริงไม่หยุดยั้ง ไม่อยากให้ใครมารบกวนเวลาเลย

ชินเชาวน์ 20-08-2009 20:59

๗. อุปัฏฐานะ สติมากเกินไป คิดแต่อดีต-อนาคต ทิ้งอารมณ์ปัจจุบันส่วนมาก
๑. ระลึกแต่เรื่องอดีตที่ผ่านมานานแล้ว เช่นสมัยเป็นเด็ก
๒. คล้ายกับตนจะระลึกชาติได้
๓. บางครั้งนึกถึงอนาคต เช่นเมื่อออกไปแล้วจะเทศน์ได้ดี จะสอนได้ดี
๔. คิดส่งเสริมการปฏิบัติให้ได้ผลและให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

ชินเชาวน์ 22-08-2009 00:47

๘. ญาณะ เอาความรู้ด้านปริยัติกับปฏิบัติมาเปรียบเทียบกัน ทำให้เข้าใจผิด คิดว่าถูก อวดดี สู้ครู
๑. ชอบวิพากษ์วิจารณ์อารมณ์ต่าง ๆ เช่น พองเป็นเกิด ยุบเป็นดับ ฯลฯ
๒. นึกถึงหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา
๓. ไม่ได้ปัจจุบัน ส่วนมากเป็นวิปัสสนึก คือนึกเอาเองเป็นจินตาญาณ ไม่ใช่ภาวนาญาณ แต่เข้าใจเป็นภาวนาญาณ
๔. ทำให้ผู้ปฏิบัติสอบสวน เทียบเคียงเข้าหาหลักปริยัติ ว่าจะตรงหรือขัดแย้งกับบทไหน ฯลฯ เป็นต้น

ชินเชาวน์ 22-08-2009 20:37

๙. อุเบกขา ใจเฉย ๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ใจหลง ๆ ลืม ๆ
๑. บางครั้งลืมกำหนดเห็นพอง-ยุบ ใจเลื่อนลอยคล้ายกับไม่ได้นึกคิดอะไร
๒. บางครั้งเห็นพอง-ยุบ บางครั้งไม่เห็น
๓. ใจไม่กระวนกระวาย ใจสงบดี
๔. ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ ไม่หงุดหงิดใจ
๕. ไม่อยากได้ดิบได้ดีอะไรทั้งสิ้น
๖. กระทบอารมณ์ดี-ชั่ว รู้สึกเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย แต่ไม่ได้กำหนดปล่อยใจให้เลื่อนลอยไปตามอารมณ์ภายนอกมาก
๗. คล้ายกับว่ากิเลสไม่มี ทำให้เข้าใจตัวเองว่าจะสำเร็จแล้ว

ปราโมทย์ 23-08-2009 13:24

อุปกิเลส ๑๐ มีความละเอียดมากขนาดนี้
ทำอย่างไรถึงจะไม่ติดอยู่ในอุปกิเลสได้ครับ
รู้สึกว่ายากมากครับ

ชินเชาวน์ 23-08-2009 22:14

๑๐. นิกันติ พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ
๑. พอใจในแสงสว่าง ปีติ สุข สัทธา ความเพียร ญาณ อุเบกขา
๒. พอใจในนิมิตต่าง ๆ อยากให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ หายไปแล้วอยากให้เกิดอีก

ชินเชาวน์ 24-08-2009 20:54

ถ้าอุปกิเลสเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งเกิดขึ้น ให้ผู้ปฏิบัติรีบกำหนดทันทีว่า "เห็นหนอ ๆ" หรือถ้านึกอะไรไม่ได้ ให้กำหนดว่า "รู้หนอ ๆ" ก็จะหายไป ถ้าหายไปช้า ๆ พึงทราบเถิดว่า "สติ สมาธิ ปัญญาของเราอ่อนไป" ให้พยายามลุกขึ้นไปเดินจงกรมเพิ่มประมาณสัก ๕-๑๐-๒๐ นาที จึงจะได้ผลดี ญาณยังอยู่ในเขตสมถะ

ถ้ากำหนดเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง สามครั้งแล้วหายไป แสดงว่า "สติ สมาธิ ปัญญาของเราดีขึ้นบ้าง" ให้นั่งต่อไปได้ ญาณดีขึ้น เข้าเขตอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ๆ แล้วขอให้พยายามต่อไป อย่าประมาทและอย่านอนใจ

ถ้ากำหนดแล้วหายวูบไปเลย ตัวเองก็ผงะไปข้างหลัง ตกใจเล็กน้อยอย่างนี้ดี เข้าเขตญาณที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณอย่างแก่ เป็นภาวนามยปัญญา ตั้งแต่นี้ไปสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานแยกกันตรงนี้


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:41


ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว