บท อิติปิโส ถอยหลัง เมื่อสมัยพุทธกาล มีเหล่าพระสงฆ์อยู่กลุ่มหนึ่งได้ออกธุดงค์ไปในป่าเขาแห่งหนึ่งซึ่งเป็นป่าที่ว่ากันว่า
ไม่มีนักบุญท่านใดอยู่ได้นาน เพราะมักจะมีเหล่าอสูรกายมาหลอกหลอน ให้ตบะพังจนสติแตกอยู่ร่ำไป
พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ปักกลด และจำศีลอยู่ที่นั่น ซึ่งมีกันทั้งหมด ๘ องค์ ตกกลางคืน
เหล่าอสูรกายก็ออกฤทธิ์ ทั้งหัวเราะทั่วหุบเขา ทั้งแปลงเป็นผี ควักไส้พุง ตาถลน
ทั้งหมดกลัวสุดขีดแต่ได้ตั้งสติและสวดมนต์ โดยเฉพาะอิติปิโส แต่พอสวด
อสูรกายกลับกลายร่างเป็นยักษ์โล้น (ร่างแท้ ๆ) ปัดกลดกระเด็นไปคนละทิศละทาง
ทั้งหมดทุกท่านโกย..โกยเถอะโยม..ม และนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ได้ให้บทสวด อิติปิโส แต่ให้สวดถอยกลับ เพื่อไปปลดปล่อยยักษ์ตนนั้นที่หวงที่
เหล่าพระสงฆ์เหล่านั้น ก็กลับไปที่เดิม ตกกลางคืน มาอีกหนักกว่าครั้งที่แล้ว
ทั้งพายุห่าฝนทั้งฟ้าผ่า และมันกำลังจะกระทืบไปที่เหล่าพระสงฆ์กลุ่มนั้น
ทั้งหมดห้อมล้อมและท่องอิติปิโสถอยหลัง ยักษ์ตนนั้น ปวดหัวทรมานอย่างแรง
จนต้องอ้อนวอนให้พระสงฆ์กลุ่มนั้นหยุดท่องคาถานี้ หัวหน้าคณะได้ให้ยักษ์สาบานด้วยวาจาสัตย์ว่าต้องไม่ทำร้ายใครอีก
และต้องจำศีลเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารที่เป็นอยู่นี้ ยักษ์จึงตกลง..
และในที่สุดก็มาเป็นบทคาถาบทหนึ่งที่ไม่ใช่แค่คุ้มครองผู้สวดแล้ว
ยังป้องกันภัยอันตรายทั้งหลาย ยามจำเป็นต้องพักในที่ที่เราไม่คุ้นเคย...
คาถาบทนี้มี ๕๖ ตัว ให้ภาวนา ๓ หรือ ๗ คาบ ก่อนออกเดินทางไปสารทิศใด ๆ
จะแคล้วคลาดปราศจากทุกภัยพิบัติทั้งปวง หากภาวนาได้ครบ ๑๐๘ คาบติดต่อกัน
จะมีตัวเบา เดินตัวปลิว เสกหรือสะเดาะเคราะห์ สะเดาะกุญแจ หรือโซ่ตรวนของจองจำทั้งปวงได้สิ้น
คาถาอิติปิโสถอยหลัง
ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา
นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ
สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ
นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ
สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา
วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง
ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯ
|