ดูแบบคำตอบเดียว
  #69  
เก่า 27-10-2012, 15:03
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,916 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "มาตราโบราณแปลก ๆ บางทีเราไม่เคยได้ยิน เช่น การหล่อพระใช้ทอง ๖ หมื่น ไม่ใช่ทองราคา ๖๐,๐๐๐ บาทนะ หมื่นเป็นหน่วยวัดน้ำหนักของทางเหนือ ๑ หมื่นเท่ากับน้ำหนัก ๑๒ กิโลกรัม

ดอยสามหมื่น
เกิดจากว่า ถ้าใครจะข้ามดอยลูกนั้น ต้องแบกข้าวไป ๓ หมื่น คือ ๓๖ กิโลกรัม เท่ากับ ๒ ถังกว่า จึงจะเป็นเสบียงพอกินจนเดินข้ามเขาได้ เพราะฉะนั้น..ดอยสามหมื่นมีชื่อมาทุกวันนี้ ก็เพราะว่าต้องแบกเสบียงไป ๓ หมื่นถึงจะไปรอด

บางทีเราไม่เข้าใจว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นทองคำ ๖ หมื่นที่ว่าก็คือ ทองคำ ๗๒ กิโลกรัม หล่อพระ ๑ องค์ อย่าง
ความยาว ๑ เกียก เกียกหนึ่งยาวแค่ไหน ? ยาวจากปลายนิ้วโป้งถึงปลายนิ้วชี้ ยืดออกมาสุดได้ ๑ เกียก แต่ถ้านิ้วโป้งถึงนิ้วกลางได้ ๑ คืบ ๒ คืบเป็น ๑ ศอก ลองดูได้ โบราณเขาว่าไม่ผิดหรอก

ไม่ใช่เกียกกายนะ..
เกียกกายของโบราณคือกองเสบียง ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คือพวกกองส่งกำลังบำรุง และมีตำแหน่งอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้คงหาคนรู้จักได้ยาก ก็คือตำแหน่งยกกระบัตร ยกกระบัตรสมัยก่อนก็คือตำแหน่งปลัดจังหวัดของสมัยนี้"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-10-2012 เมื่อ 16:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 215 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา