เมื่อทำอย่างนี้ได้แล้ว หลังจากนั้นก็พยายามที่จะมองให้โทษของสิ่งที่ชั่ว ว่าทำให้เราลำบากเดือดร้อนอย่างไร ดีคือสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล จะเกื้อหนุนส่งผลให้เรามีความสุขความสบายอย่างไร แล้วก็ละชั่ว ทำดี ขั้นตอนต่อไปเมื่อทำดีไปแล้ว ก็พยายามให้เห็นด้วยว่า แม้แต่ดีก็ยังไม่ใช่หนทางที่ทำให้เราหลุดพ้นอย่างแท้จริง เพราะว่าตราบใดที่เราเกาะฝั่งซ้ายคือชั่ว ฝั่งขวาคือดี เราก็ไปไหนไม่ได้ สมมติว่าเราจะไปกรุงเทพฯ เราไม่เกาะเสาต้นข้างซ้าย เราก็เกาะเสาต้นข้างขวา แล้วจะไปไหนได้ ? ในเมื่อเราเกาะต้นเสาอยู่ ก็ต้องปล่อยก่อนเพื่อที่จะให้เราก้าวเดินไปได้
ถ้ามาถึงตอนนี้ ก็จะเป็นช่วงสุดท้ายของการปฏิบัติ คือ รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ในเมื่อเราไม่เกาะดีแล้วทำไมถึงต้องทำดี ? ประการแรกคือเป็นความไม่ประมาท เพราะกำลังของบุญกุศลคือความดีจะทำให้เราหลุดพ้นได้ ประการที่สองคือทำเป็นเนตติ คือเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นเขา ว่าบุคคลที่ไม่ประมาทในธรรมจริง ๆ ยังต้องละชั่ว ทำดีอยู่เสมอ
ถ้าก้าวเข้ามาถึงจุดนี้ โอกาสที่เราจะล่วงพ้นจากกองทุกข์จึงจะเกิดขึ้นได้ แต่ว่าอันดับแรกก็คือ ทำอย่างไรที่เราจะหยุดความนึกคิดของเราทั้งหมดให้อยู่กับปัจจุบันได้ นั่นก็คือการที่เราต้องสร้างสติ สมาธิ และปัญญาให้เข้มข้นมากขึ้น ก็คือการที่เรามาปฏิบัติธรรมกันอย่างนี้ เราก็มาเน้นตรงสมาธิ เมื่อสมาธิทรงตัว สติก็จะว่องไว แหลมคม ปัญญาก็จะแก่กล้า
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-11-2013 เมื่อ 19:01
|