๕. ให้พิจารณาความไม่เที่ยงเข้าไว้เสมอ ๆ จักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ด้วยประการทั้งปวง แม้จักยังไม่สนิท ก็บรรเทาสักกายทิฏฐิลงได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่าลืมคำว่า สักกายทิฏฐิ มีเป็นขั้น ๆ หยาบ - กลาง - ละเอียด จากปุถุชนมาสู่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ ก็เนื่องจากการเห็นทุกข์ในความไม่เที่ยงไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ แล้วในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ ต่างคนต่างปฏิบัติไปก็เข้าสู่อริยสัจตามระดับจิตนั้น ๆ เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นโทษ จึงพิจารณาสักกายทิฏฐิ เพื่อปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นในทุกข์นั้นลงเสีย อย่าลืม ละที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จที่ใจ ถ้าหากจิตหรือใจดีเสียอย่างเดียว กาย - วาจา ซึ่งเป็นบ่าวก็จักดีตามไปด้วย เดินมรรคด้วยจิต ทำให้ถูกทาง แล้วจักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-02-2015 เมื่อ 10:00
|