ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 09-03-2015, 17:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สำหรับวันมาฆบูชานั้น เนื่องจากว่าเป็นวันสำคัญที่ประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วเห็นว่าเป็นวาระสำคัญ จึงได้ทำการประชุมสงฆ์ ประกาศอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการในพระพุทธศาสนาของเรา แก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดว่า ถ้าหากเธอทั้งหลายออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ขอให้นำอุดมการณ์ ๔ ข้อ หลักการ ๓ ข้อ และวิธีการ ๖ ข้อ ไปใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็จะไม่สอนผิดไปจากหลักธรรมของพระองค์ท่าน ดังที่ได้ตรัสเอาไว้เป็นภาษาบาลีว่า

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
นหิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ


นี่คืออุดมการณ์ ๔ ข้อในพระพุทธศาสนา ซึ่งค้านกับอุดมการณ์ของศาสนาอื่น ๆ ในยุคนั้นโดยสิ้นเชิง พระองค์ท่านตรัสว่า ขันติจัดเป็นตบะอย่างยิ่งของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ซึ่งในสมัยนั้นเขานิยมกันว่า การบำเพ็ญตบะต้องทรมานตนเป็นอย่างยิ่ง ทรมานอย่างชนิดที่บางทีก็ไม่กินอะไรเลยเป็นเดือน ๆ บุคคลในสมัยนั้นเชื่อว่า ถ้าทรมานตนมาก ๆ จะได้รับความโปรดปรานจากบรรดาเทพเจ้าเหล่าเทวาทั้งหลาย แล้วรับเอาดวงจิตไปอยู่รวมกับปรมาตมัน ก็คือดวงจิตยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมธรรมชาติทั้งหมดตามความเชื่อของเขา

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ใช่ การบำเพ็ญตบะที่แท้จริงนั้นคือ ต้องเป็นผู้อดทนอดกลั้น ไม่ว่าจะเป็นความอดทนทางร่างกาย เช่น อดทนต่อความหิว ความร้อน ความหนาว ความกระหาย ตลอดจนกระทั่งความเจ็บไข้ได้ป่วย ความอดทนทางวาจา คือ เว้นจากการว่าร้าย กล่าวร้ายคนอื่นเขา พยายามพูดแต่ในสิ่งที่ดี ๆ ความอดทนทางใจ ก็คือ การอดทนอดกลั้นต่อสู้กับกิเลส ไม่ยอมไหลตามกำลังของกิเลสไปสู่ในทางต่ำ แต่พยายามที่จะฝืนตนเองเอาไว้ เพื่อที่จะปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา นำตนให้ก้าวขึ้นสู่ภพภูมิที่สูงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้หลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน ดังนั้น..พระองค์ท่านจึงประกาศอุดมการณ์ข้อแรกว่า ความอดทนอดกลั้นจึงจัดเป็นตบะอย่างยิ่งของผู้ปฏิบัติธรรม

ข้อที่สอง พระองค์ท่านตรัสว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ผู้รู้ทั้งหลายล้วนแต่กล่าวถึงพระนิพพานว่าเป็นที่สุดแห่งธรรม ไม่ใช่การไปอยู่รวมกับพระเจ้า ไม่ใช่การไปอยู่รวมกับปรมาตมันอันยิ่งใหญ่ แต่การหลุดพ้นจากกองทุกข์ เข้าสู่พระนิพพานได้ นั่นจึงเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา นี่ก็เป็นสิ่งที่ค้านกับศาสดาทั้งหลายที่ได้กล่าวไว้มาตั้งแต่ต้น

ญาติโยมทั้งหลายจะเห็นได้ว่า องค์สมเด็จพระทศพลของเรานั้น ประกอบไปด้วยความกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง กล้าเพราะพระองค์ท่านรู้แจ้งเห็นจริง พระองค์ท่านกล่าวว่าพระองค์ท่านตรัสรู้ ไม่มีใครคัดค้านได้ว่าไม่ตรัสรู้ พระองค์ท่านสอนธรรมให้ล่วงพ้นจากกองทุกข์ ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ธรรมะของพระองค์ท่านทำให้บุคคลไม่สามารถก้าวล่วงจากกองทุกข์ เป็นต้น

ดังนั้น..ในกระแสสังคมที่นิยมการทรมานตนเองอย่างหนึ่ง ที่กล่าวถึงปรมาตมัน คือการหลุดพ้นไปอยู่รวมกันจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง พระองค์ท่านบอกว่าไม่ใช่ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทางผิด การบำเพ็ญตบะที่แท้จริง คือการอดทนอดกลั้น ทั้งกาย ทั้งวาจา และใจ การจะล่วงพ้นจากกองทุกข์ได้มีพระนิพพานที่เดียวเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-03-2015 เมื่อ 18:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 72 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา