อื่น ๆ
องค์พระ
เป็นนักลอกเลียนแบบอีกเช่นกัน อะไร ๆ พระอาจารย์ก็ใช้องค์พระ จึงใช้ตาม
จริง ๆ แล้วอยากให้เห็นความสำคัญสักนิดว่า เพราะองค์พระครอบคลุมหมดทุกอย่าง "
พุทโธ อัปปมาโณ" ไม่ว่าจะเป็นแคล้วคลาด เมตตามหาเสน่ห์ มหาเศรษฐี และที่สำคัญยังเป็นพุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ โดยตรงกว่ายันต์ไหน ๆ ไม่ต้องมาอธิบายให้ฟังกันว่า หมายถึงอะไร มีที่มาอย่างไร
อย่างที่เคยกล่าวไปข้างต้นว่า หน้าที่อื่น ๆ ไม่ใช่หน้าที่คนเขียน เป็นเรื่องของเจ้าของยันต์ท่านอธิษฐานกำกับไว้
คนเขียนมีหน้าที่อะไร ? เคยกล่าวไปแล้วกระทู้ "
ยันต์ทำน้ำมนต์" เรื่องสมาธิเต็มอัตรา นั่นคือหน้าที่เดียวของผู้เขียน
"สมาธิเต็มอัตรา" คือ สำหรับคนจับภาพพระ ควรเห็นสว่างสดใสเป็นแก้วประกายพรึกเท่าที่สุดที่จะทำได้ (สว่างให้ตาบอดไปเลย)
เริ่มจับภาพพระตั้งแต่จรดจุดแรกของยันต์ จนกว่าจะจรดจุดสุดท้าย
ยันต์ชนะ
อันนี้เป็น
โดยส่วนตัวเองที่ใช้เขียนลงบนธนบัตร เหตุผลทั้งหมดเคยได้กล่าวไว้ในกระทู้
ยันต์ชนะหมดแล้ว ที่ไม่พูดซ้ำเพราะเกรงว่าจะเบื่อกัน ใครสนใจก็กลับไปดูน่าจะสะดวกกับทุกท่านที่สุด
การอัญเชิญยันต์ชนะไว้บนธนบัตร มีจุดประสงค์ชัดเจนให้ทุกท่านพึงเข้าใจว่า ที่เรามีทุกวันนี้ได้เพราะพระเมตตาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประกาศพระศาสนาไว้ ให้เราได้มีพระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และพระสงฆ์เพื่อสืบต่อพระธรรมของพระพุทธองค์จนมาถึงปัจจุบัน เมื่อท่านทั้งหลายได้นึกถึงพระเมตตาแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตามุ่งมั่นในความดี ในเมื่อก้าวเข้ามาทางธรรมแล้ว..ก็แค่ก้าวต่อไปอีกก้าว เมตตาตนเอง พากเพียรเอาชนะตนเอง เช่นนี้เป็นทางที่จะตอบแทนพระเมตตาแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ได้ดีที่สุด
อีกอย่างหนึ่ง พระคาถาประจำยันต์ชนะคือ “กรณียเมตตสูตร” คือความเมตตา ในการทำงานต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งรายได้ เราต้องอาศัยความเมตตาจากผู้อื่นช่วยเกื้อหนุน นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ กราบอาราธนาไว้บนธนบัตร พระคาถานี้ช่วยให้ทั้งมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์เมตตา พึงขอความช่วยเหลืออะไร ท่านจะได้สงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือ
เมื่อมีกินมีใช้แล้ว อย่าเอาแต่หล่อเลี้ยงให้กิเลสเติบโต เพลิดเพลินหลงระเริงกับ "รัก โลภ โกรธ หลง" จนลืมเมตตาตนเองว่า ท้ายที่สุดแล้วเราไม่อาจล่วงพ้นทุกข์ไปได้ด้วยเงิน แต่จะล่วงไปได้ด้วยการเอาชนะกิเลส พ้นสังสารวัตรนี้ไป
พระคาถาอื่น ๆ
บ่อยครั้งที่จะเห็นธนบัตรขวัญถุงมีอักขระอื่น ๆ ซึ่งเป็นคาถาทางด้านลาภ เช่น
พระคาถาเสกของภายในร้าน
(ตำราพระบูรพาจารย์ หน้า ๔๙)
"นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ"
พระคุณท่าน ฯ บอกว่าให้เสกของด้วยพระคาถานี้ คือ พระคาถาพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ โดยให้เจ้าของนำมาอย่างละชิ้น เสกไว้ภายในร้าน จะขายของดี