ระตะนัตตะยัปณามะคาถา
(นำ)(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย
เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.)
(พวกเราจงพากันกล่าวคำแสดงความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย และสวดบทที่แสดงถึงความน่าสลดใจ เพื่อทำใจไม่ให้ประมาทในทางกุศลโดยพร้อมเพรียงกันเถิดฯ)
(รับ)พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้า เป็นผู้หมดจดดีแล้ว มีพระกรุณาเปรียบประดุจห้วงสมุทร
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
มีญาณ คือความรู้อันประเสริฐหมดจดถึงที่สุดแล้ว
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
เป็นผู้ฆ่าความชั่วและสิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมองของโลกได้แล้ว
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
พระธรรม คำสั่งสอนของพระบรมศาสดาพระองค์นั้น ประดุจแสงสว่างแห่งดวงประทีป
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล และนิพพาน
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
เป็นธรรมอันข้ามพ้นวิสัยของโลก และเป็นธรรมที่ส่องให้เห็นชัด ในเนื้อความแห่งธรรมอันข้ามพ้นวิสัยของโลกนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรมนั้น ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
สังโฆ สุเขตตา ภะยะติเขตตะสัญญิโต
พระอริยสงฆ์ เป็นนาบุญที่ดีกว่านาบุญทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
เป็นผู้เห็นความสงบคือพระนิพพานแล้ว เป็นผู้รู้ตามพระสุคตเจ้า
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องทำใจให้โลเลได้หมดแล้ว เป็นพระอริยเจ้า เป็นผู้มีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์นั้น ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา
บุญอันใดที่ข้าพเจ้าได้กราบไหว้พระรัตนตรัย อันเปรียบเหมือนดวงแก้ว ๓ ประการ อันเป็นของควรบูชาอย่างยิ่งโดยส่วนเดียว ซึ่งได้สั่งสมมาแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ๆ และด้วยอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอานุภาพของบุญนั้น ขออุปัทวันตรายทั้งปวง จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย