ชื่อกระทู้: มวยไชยา
ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 19-03-2009, 16:12
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

รางวัล
ในการชกสมัยนั้น เป็นการชกเพื่อสมโภชพระที่แห่ทางบกเป็นประจำทุกปี แต่ฝ่ายผู้จัดให้มีมวยในครั้งนั้นซึ่งทุกคนจะกล่าวเช่นเดียวกันว่าเงินรางวัลที่ได้จะได้จากพระยาไชยา เพราะในสมัยนั้นการชกมวยไม่มีการเก็บเงิน ดังนั้นรางวัลที่ได้จะมีไม่มากนัก คนละบาทสองบาทหรือมากกว่านั้นก็ต้องแล้วแต่ฝีมือหรือการต่อสู้แต่ละคู่หรือความพอใจของเจ้านาย แต่ส่วนใหญ่จะได้เท่ากัน ครั้นเมืองไชยาถูกรวมกับเมืองกาญจนดิษฐ์และย้ายศาลากลางไปไว้ที่บ้านดอน พระยาไชยาได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมืองที่บ้านดอน เมืองไชยาจึงไม่มีเจ้าเมืองตั้งแต่นั้นมา การชกมวยที่ศาลาเก้าห้องก็ต้องมีอันล้มเลิกไป แต่เนื่องจากไชยาเป็นเมืองมวย ก็ย่อมจะมีการชกมวยเกิดขึ้นที่แห่งใหม่ และสถานที่แห่งนั้นได้แก่สนามมวยวัดพระบรมธาตุไชยา


กองมวย
ตั้งแต่ที่มีการชกมวยที่ศาลาเก้าห้องแล้วนั้นเมืองไชยาได้เกิดมีกองมวยที่สำคัญเกิดขึ้น 4 กอง คือกองมวยบ้านเวียง กองมวยปากท่อ กองมวยบ้านทุ่ง กองมวยพุ่มเรียง แต่ละกองจะมีนายกอง 1 คน ถ้าเป็นปัจจุบันก็ได้แก่หัวหน้าคณะมวย และนายกองมีหน้าที่รับผิดชอบนักมวยในกอง เพราะนักมวยในกองจะได้รับสิทธิ์พิเศษต่างๆตามความสำคัญ ดังนี้

เฉพาะกองมวยของหมื่นมวยมีชื่อ(ปล่อง จำนงทอง)ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรัชชูฯ จำนวน 25 คน ส่วนที่เหลือต้องเสียภาษีนี้คนละ 4 บาทเหมือนบุคลอื่นทั่วไป
การใช้กำลังโยธา(การเกณฑ์ใช้แรงงาน) กล่าวคือในสมัยนั้นมีการเกณฑ์ใช้แรงงานเพื่อสร้างทางหรือสาธารณะสมบัติอื่นๆ ทุกคนในเมืองไชยาย่อมถูกเกณฑ์แรงงานไปใช้โดยไม่มีค่าตอบแทนเป็นเงินทองหรือสิ่งของทุกคนจะต้องไปทำงานตามการเกณฑ์นั้น ยกเว้นบุคคลที่อยู่ใน “กองมวย” ซึ่งจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนคนทั่วๆไป
บุคคลในกองมวย มีหน้าที่ฟิตซ้อมมวย และเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อที่จะเดินทางไปชกทุกแห่งตามที่ทางราชการต้องการ อย่างเช่นงานเฉลิมฯที่บ้านดอน งานรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ที่บนควนท่าข้าม(พุนพิน) นายกองมวยจะต้องนำนักมวยของแต่ละกองไปชก แต่การไปนั้นได้รับการยืนยันว่า นักมวยที่ไปจะได้รับเบี้ยเลี้ยง ตามลำดับดังนี้ คือ 3 บาท 2 บาท 1บาท และ 50 สตางค์ เช่นหมื่นมวยมีชื่อจะได้วันละ 3 บาท นายกองอื่น 2บาท นักมวยสำคัญคนละ 1 บาท ส่วนนักมวยสำรองหรือลูกน้องจะได้คนละ 50 สตางค์ และจะได้รับเบี้ยเลี้ยงจนกว่างานนั้นจะเลิกหรือถึงวันกลับ
จะเห็นได้ว่านักมวยมีค่าและมีความหมายมากในสมัยนั้น เป็นบุคคลที่มีเกียรติ ดังนั้นในการเข้ากองมวย นายกองจะเป็นผู้พิจารณาจากรูปร่างของผู้ที่มาสมัครว่าพอจะเป็นนักมวยได้หรือไม่ และก็มีมากเหมือนกันที่เข้ากองมวยโดยหวังสิทธิ์พิเศษ แต่มีข้อแม้ที่น่าสังเกตคือบุคคลที่จะเข้ากองมวยได้ต้องซ้อมจริง ใครหลบหลีกนายกองมีสิทธิ์คัดชื่อออกทันที การคัดชื่อออกทำให้เสียสิทธิ์ที่กล่าวมาแล้วนั้นด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 19-03-2009 เมื่อ 19:00
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา