ต้องเข้าใจ (Just you know why)
- ในการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ที่ขาดไม่ได้ก็คือ น้ำ ในที่นี้หมายถึงน้ำสะอาด สำหรับดื่ม กินและที่สำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ คือ เรื่องของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งระบบทางเดินอาหารต้องสัมผัสและดูดซึมโดยตรง สรุปผลได้ดังนี้
-----น้ำเย็น มีอุณหภูมิต่ำ เมื่อดื่มน้ำเย็นจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายต่ำลงและมีผลให้ผนังของระบบทางเดินอาหารหด บีบ รัด คล้ายการดูดซึมหรือเหมือนกับหลอกระบบดูดซึมให้ทำงานหรือให้ระบบย่อยหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อดูดซึม ทำให้มีอาการหิว โหย บางครั้งดื่มน้ำเย็นปริมาณมาก ๆ และบ่อยจะมีอาการบีบ บิด ปวดท้อง ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำร่วมด้วย วิธีแก้ หาอะไรกิน เมื่อมีอาหารให้ย่อยแล้วร่างกายก็กลับสู่สภาวะปกติ
-----น้ำอุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิปกติ เมื่อดื่มน้ำบ่อย ๆ จะทำให้หิว เพราะไปกระตุ้นระบบดูดซึมให้เริ่มทำงาน ถ้าไม่บ่อย ไม่ค่อยหิว
-----น้ำอุ่นค่อนข้างร้อน มีอุณหภูมิสูง เมื่อดื่มจะทำให้ภายในร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ระบบทางเดินอาหารได้รับการกระตุ้น แต่ระบบดูดซึมหยุดการดูดซึมหรือดูดซึมช้า ทำให้ไม่หิว ระงับหิวได้ตามปริมาณที่ดื่ม แรก ๆ ถ้าไม่คุ้น ชิน ถ้าดื่มน้ำอุ่นค่อนข้างร้อนในปริมาณมาก ๆ อาจจะมีผลข้างเคียง คือ มีอาการพะอืดพะอม อยากอาเจียนร่วมด้วยเนื่องจากการดูดซึมน้ำอุ่นค่อนข้างร้อนได้ช้า จึงทำให้แน่น เสียด จุก วิธีแก้ คือ ดื่มพอดี
- เรื่องกิน คือเราจะทำอย่างไร ให้กินอิ่มพอดี ไม่หิวมากในช่วงที่เราอดอาหาร สรุปลงตรงที่ กินมื้อเดียวให้พอดีอิ่ม ง่ายดี ถ้าน้อยไปก็โหยหา ไม่พอย่อย ถ้ากินมากไปก็จุก เสียด แน่น เยอะไปย่อยไม่ทัน หลังมื้ออาหาร หิวหนักกว่าเดิมอีก
- การระงับความหิว
-----ระยะแรก แก้ไขโดยการกินอาหารให้พอดีกับพลังงานที่ต้องใช้
-----ระยะที่สอง แก้ไขโดยการดื่มน้ำอุ่นค่อนข้างร้อน ช่วยได้ระดับหนึ่ง
-----ระยะที่สาม ไม่กิน ไม่ดื่มน้ำ สังเกตอาการ ดื่มน้ำได้ เพื่อดับกระหายเท่านั้น หมายเหตุ ระยะนี้ไม่ดื่มน้ำถี่เกินไป เพราะจะทำให้หิว วิธีแก้ไข ไม่ดื่มน้ำ โดยทิ้งระยะเวลาดื่มน้ำให้ห่างพอสมควร เพื่อร่างกายปรับสภาพ
- ระบบของร่างกายระบบหนึ่ง ที่สามารถกำจัดน้ำตาลในเลือดได้โดยธรรมชาติคือ การอาศัยกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายในรูปแบบของน้ำ ได้แก่ เหงื่อ ปัสสาวะ ซึ่งเราสามารถควบคุมหรือกำหนดเองได้โดยการออกกำลังกายและการดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ แต่ไม่มากจนเกินไป ซึ่งตามธรรมดาระบบปกติของร่างกายจะขับถ่าย ของเสียและส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการออกมา ที่น่าสนใจคือ มีสิ่งที่ร่างกายขับปะปนออกมากับของเสียนั้น ถึงแม้ว่าร่างกายจะยังต้องการหรือจำเป็นต้องใช้ เช่น เกลือแร่ วิตามินซี ฯ
__________________
"สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีรัง วิโสทะเย"
|