ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 03-09-2022, 22:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,678
ได้ให้อนุโมทนา: 152,056
ได้รับอนุโมทนา 4,416,999 ครั้ง ใน 34,268 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ "ดราม่า" ในวงการสงฆ์ เรื่องที่วัดใหญ่แห่งหนึ่งมีการเปิดฟิตเนสให้พระภิกษุสามเณรออกกำลังกาย โดยมีครูฝึกมาสอนให้อย่างถูกต้องตามวิธีการ เรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นไม่ควรที่จะเป็นเรื่องขึ้นมา ถ้าหากว่าไม่ได้มีการนำไปโพสต์ลงโซเชียล โดยที่ลืมไปว่า เรื่องพวกนี้ยังเป็นเรื่องที่ญาติโยมทั่วไปไม่สามารถที่จะรับได้

ถ้าหากว่าเราได้ปฏิบัติตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมตตาวางรูปแบบของพระภิกษุสามเณรเอาไว้ ก็คือการบิณฑบาต เจริญพระกรรมฐาน สวดมนต์ทำวัตร กวาดทำความสะอาดวัดวาอาราม เป็นต้น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเคร่งครัดต่อวัตรปฏิบัติเหล่านี้ รับประกันได้ว่า คำว่าน้ำหนักเกินไม่มีอย่างแน่นอน


ไม่ต้องดูใครอื่น ดูตัวของกระผม/อาตมภาพเอง ในช่วงที่ปฏิบัติธรรมอย่างหนัก คืนหนึ่งจำวัดแค่ ๒ ชั่วโมง นอกนั้นก็เดินจงกรมภาวนาตลอด ในช่วงนั้นน้ำหนักตัวอยู่ที่ ๕๔ กิโลกรัมเท่านั้น ท่านทั้งหลายอาจจะคิดว่า ๕๔ กิโลกรัมนี้มาก ขอบอกว่าถ้าเป็นสาว ๆ ทั่วไป เขาก็จะว่ามาก แต่กระผม/อาตมภาพสูง ๑๗๒ เซนติเมตร น้ำหนักตามมาตรฐานสากลก็คือต้อง ๗๒ กิโลกรัม แต่ปรากฏว่าน้ำหนักแค่ ๕๔ กิโลกรัม ก็เกือบจะมีแต่หนังหุ้มกระดูก แล้วต่อมา เมื่อบรรเทาเบาบางในการปฏิบัติธรรมลงแล้ว ก็ยังคงบิณฑบาตตามปกติ

ปัจจุบันนี้น้ำหนักตัวก็อยู่ที่ ๖๑ กิโลกรัม ทำอย่างไรก็ไม่มากเกินไปกว่านี้ จนพรรคพวกเพื่อนฝูงหลายรายบอกว่า " รักษาหุ่นได้ดีมาก" กระผม/อาตมภาพบอกว่าไม่ต้องรักษา ถ้าคุณเดินบิณฑบาตวันละ ๕ กิโลเมตรแบบผม คุณก็จะมีหุ่นแบบนี้เหมือนกัน นอกจากนั้นการเดินจงกรมภาวนานั้น ถ้าหากว่าทำจริง ๆ จัง ๆ อย่างของหลวงปู่หลวงพ่อสายวัดป่า ท่านเดินกันข้ามวันข้ามคืน แล้วจะเอาไขมันส่วนเกินที่ไหนมาเหลือ มีแต่ไม่พอเสียมากกว่า

เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายที่ออกกำลังกายนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสำนักเรียน โอกาสที่จะเดินบิณฑบาต โอกาสที่จะปฏิบัติธรรมอย่างหนักก็ไม่มี ดังนั้น..ครูบาอาจารย์จึงสรรหา
เครื่องไม้เครื่องมือในการออกกำลังกายมาให้ แต่ว่าเครื่องมือเหล่านี้ ถ้าหากว่าเราใช้ผิด ก็อาจจะทำให้บาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือกระดูกเส้นเอ็นได้ หรือว่าบางทีก็ใช้ออกกำลังกายผิดส่วน เป็นต้น จึงต้องจ้างบุคคลผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้ฝึกสอน

แต่คราวนี้ก็ไม่สมควรที่จะนำลงในโซเชียล เพราะว่าบุคคลส่วนหนึ่งยังรับไม่ได้ ถ้าหากว่าเราทำกันแบบเงียบ ๆ ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่การนำลงโซเชียลนั้นคาดว่ามี ๒ สาเหตุ

สาเหตุแรกก็คือ คิดว่าเพื่อสุขภาพของพระภิกษุสามเณร ลงโซเชียลไปเพื่อเป็นตัวอย่างแก่วัดวาอารามอื่น หรือว่าลงโซเชียลไปเพื่อให้รู้ว่าการที่พระสงฆ์สามเณรปฏิบัติตนตามหลัก ๕ ส. ซึ่งทางคณะสงฆ์ถือว่าเป็นนโยบายอย่างหนึ่ง นับว่าเป็นการสนองนโยบายของเจ้านาย ก็ไม่น่าจะมีความผิด แต่ว่าญาติโยมทั้งหลายรับไม่ได้ จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางเสีย ๆ หาย ๆ

ส่วนอีกข้อหนึ่งนั้น ถือว่ากระผม/อาตมภาพมองโลกในแง่ร้าย ก็คือหวังยอดไลค์อย่างเดียว แล้วก็เอาไปลงโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง ถ้าอย่างนั้น ผลกระทบที่ย้อนกลับมา ก็ต้องบอกว่าท่านต้องทนแบกรับกันไปเอง เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-09-2022 เมื่อ 04:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา