ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 05-07-2023, 00:42
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,657
ได้ให้อนุโมทนา: 151,979
ได้รับอนุโมทนา 4,416,232 ครั้ง ใน 34,247 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แต่ว่าการระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก ต้องประกอบไปด้วย สติ สมาธิ และปัญญา อย่างพร้อมเพรียงกัน ถ้าเป็นภาษาสายวัดป่า เขาเรียกว่า "มัคคสมังคี" ก็คือทุกอย่างต้องรวมกันพอดีอย่างพร้อมเพรียง ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะระลึกได้ตลอดรอดฝั่ง

ขาดสติไม่ต้องพูดถึง ขาดสติเมื่อไร ทุกอย่างก็พังหมด ดีไม่ดีก็เผลอไปทำความชั่วหนักเข้าไปอีก ขาดสมาธินี่เป็นตัวหลักเลย เพราะสมาธิช่วยให้สติมั่นคง ช่วยให้ปัญญาแหลมคม แต่ถ้าหากว่าขาดปัญญา ก็ไม่คิดที่จะระลึกถึง เพราะว่าประมาท ไม่ได้คิดว่าเราจะตายลงไปในเวลานี้

เรื่องของมรณานุสติ พระพุทธเจ้าจึงจัดให้สำหรับบุคคลที่เป็นพุทธิจริต มีความฉลาดเป็นเจ้าเรือน เพราะว่าถ้าเป็นบุคคลทั่ว ๆ ไปก็ไม่สามารถที่จะระลึกได้ บุคคลที่เป็นพุทธิจริตนั้น เหมาะกับกรรมฐานประเภทมรณานุสติ กายคตานุสติ เหล่านี้เป็นต้น เพราะว่าต้องใช้ปัญญาประกอบไปด้วย อนุสติระดับอื่น ๆ มีสมาธิแค่เบื้องต้น ก็เพียงพอใช้งานแล้ว

แต่ถ้าสำหรับพุทธิจริต กรรมฐานเหล่านี้เป็นของยาก อย่างเช่นว่า มรณานุสติ กายคตานุสติ หรือว่าพรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้ปัญญาประกอบอย่างมาก พรหมวิหาร ๔ เราต้องเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นคุณเป็นประโยชน์อย่างไร ต้องใช้ปัญญาอย่างสูง อาหาเรปฏิกูลสัญญา ต้องมองไปถึงต้นกำเนิดว่าอาหารทุกอย่างมีพื้นฐานมาจากความสกปรก แล้วเกิดความรังเกียจ กินเพื่ออยู่เท่านั้น

ดังนั้น..ในเรื่องของการระลึกถึงความตาย แม้แต่พระอานนท์ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ระลึกประมาณวันละ ๗ ครั้ง พระพุทธเจ้ายังตรัสว่าน้อยเกินไป แล้วพวกเราได้ถามตัวเองหรือไม่ว่า ได้นึกถึงกี่ครั้งต่อวัน ? ไม่ใช่ได้ข่าวใครตายมาก็สักแต่ว่ารับรู้ ยังไม่ถึงตัวกูก็แล้วไป ถ้าลักษณะอย่างนั้น ท่านทั้งหลายก็ดำเนินชีวิตแบบประมาทจนเกินไป ประมาณว่าเป็นบุคคลผู้เมามัว เมาในวัย เมาในความไม่มีโรค แล้วท้ายที่สุดก็เมาชีวิต ไม่เคยระลึกว่าตนเองจะต้องตาย..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-07-2023 เมื่อ 02:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา