ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 30-07-2023, 01:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,672
ได้ให้อนุโมทนา: 152,022
ได้รับอนุโมทนา 4,416,814 ครั้ง ใน 34,262 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานมหาปเทส ๔ ก็คือข้ออ้างใหญ่ ๔ ประการ ไว้ในการพิจารณาพระธรรมวินัยว่า ในโอกาสนานไปข้างหน้า มีสิ่งหนึ่งประการใดที่เกิดขึ้น แล้วไม่ได้มีบัญญัติไว้ในพระวินัย คือข้อยึดถือปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ ทรงให้หลักการพิจารณาไว้ว่า สิ่งนั้นสามารถที่จะกระทำได้ตามพระธรรมวินัยหรือว่าทำไม่ได้ เรียกว่ามหาปเทส ๔ ประกอบไปด้วย

ข้อที่ ๑ สิ่งใดที่ไม่สมควร พิจารณาแล้วว่าไม่สมควร สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร

ข้อที่ ๒ สิ่งใดไม่สมควร แต่พิจารณาแล้วว่าสมควร สิ่งนั้นย่อมสมควร

ข้อที่ ๓ สิ่งใดสมควร พิจารณาแล้วว่าไม่สมควร สิ่งนั้นย่อมไม่สมควร

และข้อที่ ๔ ข้อสุดท้าย สิ่งใดสมควร พิจารณาแล้วว่าสมควร สิ่งนั้นย่อมสมควร

ในเรื่องของไม้เถื่อนนั้น ถ้าเรามาพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่สมควร เพราะถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งยังมีศีลพระที่กำหนดเอาไว้ว่า ภิกษุช่วยซ่อนภาษีจากพ่อค้า ต้องอาบัติ แต่คราวนี้อาบัติที่กำหนดไว้นั้น เป็นแค่อาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าเราพิจารณาดูว่า อาบัตินั้นแม้จะเป็นแค่ปาจิตตีย์ แต่ว่าสิ่งที่เราหนีภาษีแล้วมีมูลค่า ๑ บาทขึ้นไป ก็แปลว่าเราขาดจากความเป็นพระได้เช่นกัน..!

ดังนั้น..ในเรื่องของพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงได้ต้องการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็คือพระอุปัชฌาย์ คำว่า อุปัชฌายะ แปลว่า ผู้เพ่งดูโดยตระหนัก ก็คือดูว่าสิ่งใดสมควร สิ่งใดไม่สมควร สิ่งใดใช่ สิ่งใดไม่ใช่ แล้วก็เลือกเอาสิ่งที่สมควร ละเว้นในสิ่งที่ไม่สมควร เลือกเอาสิ่งที่ใช่ ละเว้นในสิ่งที่ไม่ใช่

พระอุปัชฌายะมีหน้าที่สั่งสอนสัทธิวิหาริก ก็คือลูกศิษย์ที่ตนเองบวชมา ในสมัยพุทธกาลถึงได้กำหนดว่า ผู้ที่จะเป็นพระอุปัชฌายะได้ต้องมีพรรษาพ้น ๑๐ ต้องรู้พระธรรมวินัยครบถ้วน อาจสั่งสอนสัทธิวิหาริกให้รู้ตามได้ ตรงนี้สำคัญที่สุด ตัวเองรู้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องสอนลูกศิษย์ให้รู้ตามด้วย จะได้ไม่ทำอะไรผิดพลาด
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-07-2023 เมื่อ 02:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา