ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 17-03-2024, 01:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,672
ได้ให้อนุโมทนา: 152,022
ได้รับอนุโมทนา 4,416,899 ครั้ง ใน 34,262 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาแล้ว ก็มีการจารตะกรุดด้านหน้า แล้วก็จารปิด เป็นการประทับหลัง จึงมีหลายต่อหลายสำนักที่ม้วนตะกรุดแล้ว ถ้าหากว่าไม่ได้ถักเชือกพันให้ ก็จะมองเห็นรอยจารด้านนอกอย่างชัดเจน หรือไม่ก็จารจากด้านในทะลุมาด้านนอก แล้วใช้วิธี "กรึง" ก็คือการม้วนไปพร้อมกับว่าคาถากำกับ แทนการจารยันต์ประทับหลังไปด้วย

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นความประณีตของหลวงปู่หลวงพ่อ โบราณาจารย์ต่าง ๆ ที่ท่านทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความยากลำบาก ก็เพื่อให้ลูกศิษย์ที่ท่านรักเอาไว้ป้องกันตัว เอาไว้บูชาแทนองค์ท่าน ยามที่ไม่อยู่แล้ว

บรรดาตะกรุดหลัก ๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในยุทธจักร เราก็จะเห็นว่ามีแค่ไม่กี่สำนักเท่านั้น อย่างเช่นว่าตะกรุดมหาโสฬส สำนักวัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี ตะกรุดคู่ชีวิต สำนักวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร ตะกรุดมงกุฎพระพุทธเจ้า สำนักวัดหนัง จังหวัดธนบุรีในสมัยนั้น หรือปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตะกรุดจันทร์เพ็ญ สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดมหาระงับ สำนักวัดบางกะพ้อม เป็นต้น

เรื่องพวกนี้ เราท่านทั้งหลาย ถ้าหากว่ายิ่งศึกษาไป ก็ยิ่งจะรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตาของครูบาอาจารย์ เนื่องเพราะว่าอย่างตะกรุดมหาโสฬส ถ้าหากว่าสร้างขึ้นมาแล้ว ก็ต้องเสกด้วยโองการมหาทมื่นให้ได้อย่างน้อย ๑๐,๐๐๐ จบ ส่วนใหญ่แล้วก็จะใช้เวลาในการสร้างและเสกประมาณ ๓ ปี..!

หรือถ้าหากว่าเป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือ สำนักวัดอรุณราชวราราม ของหลวงปู่นาค - พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค ป.ธ. ๗) นั้นก็ต้องใช้เวลาในการเสกถึง "สามเสาร์ ๕" ด้วยกัน ก็แปลว่าเสกกันข้ามปีเช่นกัน เนื่องเพราะว่าปีที่บังเอิญมาก ๆ ก็จะมีวันเสาร์ ๕ สองครั้ง หรือว่าบางปีก็หาวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำไม่ได้เลย เป็นต้น หรือถ้าอย่างครูบาอาจารย์ที่ท่านเคร่งครัดหนัก ๆ ท่านก็ทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือเฉพาะปีขาล วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ ซึ่งกว่าจะมีปีขาลแต่ละครั้งนั้น ก็ต้องรอถึง ๑๒ ปี ถึงจะมีปีขาลสักครั้งหนึ่ง..!

ดังนั้น..วัตถุมงคลพวกนี้จึงเป็นเรื่องยาก ที่เราจะเรียนให้ลึกซึ้งและรู้จริง กระผม/อาตมภาพเองก็ต้องบอกว่า "รู้เพียงผิวเผิน" เท่านั้น ที่ศึกษาตามตำราและได้รับการ "ครอบครู" ตามสายวิชาการมาโดยตรงนั้นมีน้อย ส่วนใหญ่ก็ใช้ "วิธีลัด" คือถึงเวลาก็ไปกราบขอบารมีพระ กราบขอบารมีครูบาอาจารย์ หรือว่ากราบขอบารมีของพรหม ของเทวดา ให้ท่านมาช่วยอนุเคราะห์สงเคราะห์เสกวัตถุมงคลนั้น ๆ ให้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-03-2024 เมื่อ 02:20
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา