ดูแบบคำตอบเดียว
  #29  
เก่า 18-04-2010, 18:34
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,977 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

"บายศรี"

ความหมายของ “บายศรี” นั้น สันนิษฐานว่าได้รัอิทธิพล มาจาก ลัทธิพราหมณ์ซึ่งเข้ามาทางเขมร ทั้งนี้เพราะคำว่า “ บาย ” ภาษาเขมรแปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง,สัมผัส ส่วนคำว่า “ ศรี ” มาจากภาษาสันสกฤตตรงกับภาษาบาลีว่า “ สิริ ” แปลว่า มิ่งขวัญ

ดังนั้นคำว่า “ บายศรี ” น่าจะแปลได้ว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่น่าสัมผัสกับความดีงาม
“ บายศรี ” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ข้าวอันเป็นสิริ,ขวัญข้าว หรือภาชนะที่จัดตกแต่ง ให้สวยงามเป็นพิเศษด้วยใบตองและดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวาน ในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่าง ๆ

สมัยโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญว่า “ บาศรี ” ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก เป็นพิธีสำหรับบุคคลชั้นเจ้านาย เพราะคำว่า “ บา ” เป็นภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว,บาบ่าว,บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ ศรี ” หมายถึง ผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล “ บาศรี ” จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันนี้คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยม เรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า “บายศรี” บายศรีจะเรียก เป็นองค์ มีหลายประเภท เช่น บายศรีเทพ บายศรีพรหม เป็นต้น

ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นบายศรี มีความหมายในทางดี เช่น
-กรวยข้าวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์
-ใบชัยพฤกษ์หรือใบคูนหมายถึง อายุยืนยาว
-ดอกดาวเรืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
-ดอกรักหมายถึงความรักที่มั่นคง
-ไข่ต้ม...ในกรณีบายศรีแต่งงาน จะมีสองฟอง เป็นของเสี่ยงทายแทนหัวใจฝ่ายชายฝ่ายหญิง ว่าจะรักกันมั่นคง ผ่าไข่ต้มเป็นสองซีกแล้วดูกันที่ไข่แดง ถ้าเอียงไปอยู่ข้างใด ทายว่าใจโลเล แต่ถ้าอยู่ตรงกลางแสดงว่าหัวใจรักมั่นคง

ความหมายของชั้นบายศรีมิได้มีการกำหนดไว้ตายตัว หากแต่เป็นเพียงผู้ที่ประดิษฐ์บายศรีมีความเชื่อศรัทธาต่อสิ่งใดแล้ว ก็มักจะน้อมนำคำสอนหรือความเชื่อต่าง ๆ มาประดิษฐ์บายศรีเป็นชั้น ๆ และแปลความหมายตามนัยที่ตนประสงค์ต่อสิ่งศรัทธานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น

๓ ชั้น เพื่อระลึกถึง พระรัตนตรัยมีองค์ ๓ ในศาสนาพุธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเทพเจ้า ๓ พระองค์ ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม

๕ ชั้น เพื่อระลึกถึง ขันธ์ทั้ง ๕ หรือที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

๗ ชั้น เพื่อระลึกถึง โพชฌงค์ ๗ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา (พจนานุกรมพุธศาสตร์ : ๒๓๙)

๙ ชั้น เชื่อเป็นมงคลสูงสุดในการดำเนินชีวิตจะได้ก้าวหน้ารุ่งเรือง ไม่ว่าจะทำการใด ๆ มักนิยมเลข ๙ มากกว่าเลขอื่น เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ๙ หรือคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการที่เรียกว่า "นวารหาทิคุณ"

"นวารหาทิคุณ" คือ พระพุทธคุณ ๙ ได้แก่

๑ . อะระหัง คือ เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชาเป็นต้น

๒.สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง

๓.วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือ ความรู้และจรณะ คือความประพฤติ

๔.สุคะโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐ์พระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา

๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้นและทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้

๖.อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยมไม่มีผู้ใดเท่าเทียม

๗.สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

๘.พุทโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใด ๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้เบิกบานด้วย

๙.ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือจะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการหรือเป็นผู้จำแนกธรรม
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 19-04-2010 เมื่อ 09:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 89 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา