ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 22-06-2010, 15:27
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,889 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๖. “ทำไปรู้ไป อย่าทำเหมือนคนดำน้ำ หรือคนเอาผ้าดำมาผูกตา ทำมันส่งไป ไม่รู้ว่าจิตมีพรหมวิหาร ๔ ประจำจิตหรือไม่ และจงอย่าเข้าข้างอารมณ์กิเลสที่หลอกตัวเองว่า พรหมวิหาร ๔ ของเรามีเต็มแล้ว”

๗. “จำไว้ตราบใดที่จิตยังถูกสังโยชน์ ๑๐ รัดร้อยอยู่ในอารมณ์ ตราบนั้นห้ามพวกเจ้าคิดว่า พรหมวิหาร ๔ เต็มเป็นอันขาด”

๘. “อารมณ์ที่เบียดเบียนจิตให้เกิดทุกข์ ไม่ว่าจักมีอามิสก็ดี หรือเป็นธรรมารมณ์เข้ามากระทบก็ตาม จงกำหนดรู้ และศึกษาวัดกำลังของพรหมวิหาร ๔ ตามนั้น ถ้าหากยังยินดี ยินร้าย ยึดสุข ยึดทุกข์ ทำอารมณ์จิตให้หวั่นไหวนานเท่าไหร่ ก็ขาดพรหมวิหาร ๔ นานเท่านั้น จุดนี้ต้องกำหนดรู้ไว้ให้ดี ๆ”

๙. “และจงอย่าแก้ไขธรรมภายนอกที่เข้ามากระทบเป็นอันขาด จงหมั่นแก้ที่จิตของตนเอง ดูอารมณ์ของจิตตนเองให้ดี ๆ แก้ไขที่ตรงนี้จึงจักมีผลสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักธรรมที่ตถาคตตรัสสอนมา” (เพื่อนผมท่านก็ยอมรับว่า ในอดีตตนมักชอบแก้ไขธรรมภายนอก ชอบโทษผู้อื่น แทนที่จะโทษอารมณ์จิตตนเองว่าไม่เอาไหน เช่น ชอบยึดโลกธรรมที่มากระทบ ไม่ยอมรับกฎของกรรม ไม่ยอมรับกฎของธรรมดา และไม่เข้าใจอริยสัจตามความเป็นจริง)

๑๐. ทรงแย้มพระโอษฐ์ แล้วตรัสสอนว่า “ดีแล้ว ที่เจ้าเริ่มรู้สึกตัว ตราบนี้ให้หมั่นปรับปรุงอารมณ์ของจิต ให้ดูตัวเองเป็นสำคัญ *ให้แก้ไข* กล่าวโทษโจทก์ตนเองเป็นสำคัญ อย่าไปโทษบุคคล สัตว์ วัตถุธาตุภายนอก ต้องโทษจิตตนเองเป็นสำคัญ ที่อยากมีร่างกายให้เกิดมารับกฎของกรรมเหล่านี้”

๑๑. “รู้กฎธรรมดาแต่อย่าทำจิตให้เศร้าหมอง ทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุเบกขาตัวท้าย จักทำให้จิตยอมรับกฎของกรรมได้โดยสงบ เมื่อเข้าใจแล้วก็จงหมั่นนำไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา