ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 09-08-2010, 09:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,678
ได้ให้อนุโมทนา: 152,056
ได้รับอนุโมทนา 4,417,069 ครั้ง ใน 34,268 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เราจึงจะเห็นได้ว่า ในเรื่องของการปฏิบัตินั้น จริง ๆ แล้วคำตอบแทบทุกอย่างอยู่ที่สมาธิภาวนาทั้งสิ้น ยกเว้นปัญญาที่จะตัดละในช่วงท้ายเท่านั้น แต่ว่าปัญญานั้นก็มีพื้นฐานจากสมาธินั่นเอง

พวกเราจึงจำเป็นที่จะต้องมาฝึกทบทวนในเรื่องของสมาธิกันเอาไว้ แต่สิ่งที่อยากจะเตือนก็คือว่า อย่ารอให้ถึงเวลาปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือนแล้วเราถึงได้ทำ ถ้ารอเวลาปฏิบัติกรรมฐานต้นเดือนแล้วถึงทำ ต้องเรียกว่า ไม่พอกิน

เนื่องจากว่าเรามีเวลาปฏิบัติแค่เดือนละสามวัน และเกินกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็มาได้ไม่ครบสามวัน การปฏิบัตินั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำทุกวัน ในแต่ละวันนั้นต้องให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

คำว่า"มากที่สุด" ไม่ใช่เรานั่งสมาธิทั้งวัน หากแต่ว่านั่งสมาธิแล้วอารมณ์ใจทรงตัวได้เท่าไร เมื่อเราไปทำการงานอื่น ๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งไปเป็นยืน เป็นเดิน เป็นนอนก็ตาม ให้เราประคับประคองรักษาอารมณ์ใจของเราให้หนักแน่น ให้มั่นคง เทียบเท่ากับตอนที่เรานั่งอยู่ โดยเฉพาะวัดเอาจากสังโยชน์หรือวัดเอาจากนิวรณ์ ๕ ประการ

การวัดจากสังโยชน์นั้น ถ้าหากเราเข้าไม่ถึงจริง ๆ โอกาสที่จะเข้าใจรู้เห็นได้ชัดเจนก็จะมีน้อย จึงให้วัดจากกิเลสหยาบ คือ นิวรณ์ ๕ ก็แล้วกัน คือ เราวัดว่าในขณะที่เราเลิกจากการนั่งสมาธิแล้ว จิตของเรายังทรงตัวหนักแน่นเหมือนเดิม ไม่หวั่นไหวต่อนิวรณ์ทั้ง ๕ คือ ยินดีในรูปสวย รสอร่อย กลิ่นหอม เสียงไพเราะ สัมผัสระหว่างเพศหรือไม่ ?

เรายังโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทผู้อื่นอยู่ในจิตในใจหรือไม่ ? เรามีความง่วงเหงาหาวนอนหรือขี้เกียจปฏิบัติอยู่ในใจตอนนั้นหรือไม่ ? เรามีความฟุ้งซ่านเดือดร้อนรำคาญใจหรือไม่ ? และท้ายสุดเรามีความสงสัยลังเลต่อผลการปฏิบัติหรือไม่ ? ว่าจะมีจริงหรือไม่มีจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนเอาไว้

ถ้าหากสภาพจิตของเราไม่มีนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ก็แปลว่าสมาธิของเรายังทรงตัวอยู่ อย่างน้อย ๆ ก็อยู่ในระดับของปฐมฌาน แปลว่าเราสามารถระมัดระวังป้องกันกิเลสได้ในส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าหากจิตใจเรามีนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ก็ตาม ให้รู้ว่าตอนนั้นสภาพจิตของเราแย่แล้ว ข้าศึกเข้ามายึดบ้านยึดเมืองของเราได้แล้ว ถ้าไม่รีบขับไล่ข้าศึกออกไป เดี๋ยวก็งอกรากฝังลึก ทำให้เราไม่สามารถที่จะทรงสมาธิได้อย่างที่ต้องการ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 09-08-2010 เมื่อ 12:54
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา