"คราวนี้เรามาดูว่าท่านจารึก ท่านเกิดอยู่ท่ามกลางสงคราม พ่อแม่ต้องหอบหิ้วอุ้มข้ามมาเมืองไทยเพื่อเอาตัวรอด เมื่อย้อนกลับเข้าไปประเทศตนเอง ญาติพี่น้องก็ตายหมด ตัวเองต้องดิ้นรนจนกระทั่งบวชพระได้ เข้ามาเมืองไทยเพื่อศึกษาต่อ โดยตั้งความหวังไว้ว่า จะกลับไปช่วยคนในชุมชนของท่าน
กำลังใจในลักษณะอย่างนี้ เป็นกำลังใจที่เปิดกว้างมาก อยู่ในลักษณะของพรหมวิหารสี่แบบอัปมัญญา คาดว่าต้องเป็นกำลังใจของพระโพธิสัตว์ ประโยคที่ท่านบอกว่า คุณไปไหนคุณบอกว่าเป็นคนไทย ต่างชาติเขาปฏิบัติต่อคุณอย่างมีเกียรติ แต่ท่านไม่ได้รับการปฏิบัติแบบนั้น พอบอกว่าเป็นกัมพูชา มีแต่คนดูถูกเขาเหมือนกับเป็นพลเมืองชั้นสอง
ถ้าเราไม่ได้โดนเองก็จะไม่ซาบซึ้ง ตอนแรกเขาใช้คำว่า suffering คือ ความทุกข์ แต่เขาก็รู้สึกว่ายังไม่ได้อย่างใจเขา พอเขาใช้คำว่า painful ค่อยเห็นชัดหน่อย คือเป็นความเจ็บปวดจริง ๆ เกิดเป็นคนแต่คนอื่นเห็นเหมือนกับว่าไม่ใช่คน..!
ท่านมังคละปิยะ เหมือนกับน้ำหยดเดียวอยู่ท่ามกลางทะเลทราย จะระเหยหายไปเมื่อไรก็ไม่รู้ เพราะประชากรห้าแสนคน ไม่รู้ว่าจะขยับขยายขึ้นมาได้หรือเปล่า แต่ท่านบอกว่า ท่านพยายามตั้งสมาคมชาวพุทธต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะให้กำลังใจ
ให้กำลังใจในการดำรงอยู่ในความเป็นชาวพุทธของตน โดยไม่ถูกอิสลามครอบงำและดึงไปหมด และพยายามจะสร้างเว็บไซต์ติดต่อกับโลกภายนอก เพื่อที่จะให้ชาวโลกรู้ว่า ยังมีชาวพุทธอยู่จุดหนึ่งในเมืองจิตตะกอง ถ้าหากอิสลามจะทำอะไรรุนแรง อย่างน้อยก็จะเกรงใจบ้างว่า ยังอยู่ในสายตาของชาวโลก
ท่านเองก็สารภาพตามตรงว่า เรียนจบก็ไม่อยากกลับบ้าน แต่ท่านก็ต้องไป เราลองเทียบกำลังใจดูซิว่า ถ้าเราพ้นจากนรกมา แบบท่าน เราคิดจะกลับไปไหม ? แต่ท่านต้องไป ที่ต้องไปเพราะผู้ที่รออยู่ก็คือพี่น้องของท่าน ก็คือ ประชาชนของท่าน
กำลังใจประเภทนี้ก็คงไม่แคล้วพระโพธิสัตว์อีกเหมือนกัน โดยเฉพาะสถานภาพของท่านเหมือนกับเป็นเจ้าชาย จะต้องกลับไปดูแลคนในเผ่าของตน"
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-09-2010 เมื่อ 01:11
|