ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 28-09-2010, 19:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,642
ได้ให้อนุโมทนา: 151,907
ได้รับอนุโมทนา 4,415,521 ครั้ง ใน 34,232 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ความรู้แจ้งในที่นี้ ก็คือ การรู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่รู้เห็นอย่างเดียว สามารถที่จะทำให้จิตใจของเราให้ยอมรับในความเป็นจริงนั้นด้วย ถ้าหากว่ารู้เห็นอย่างเดียวแต่จิตใจยังไม่ยอมรับ ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นปัญญาที่แท้จริง

ปัญญาตัวนี้เกิดจากการที่เราพยายามรักษาศีล เจริญสมาธิ แล้วใช้กำลังนั้นไปพิจารณา ไม่ว่าจะใช้กำลังนั้นไปพิจารณาในส่วนของอริยสัจ ๔ ก็ดี ในส่วนของไตรลักษณ์ก็ดี หรือวิปัสสนาญาณ ๙ ก็ดี

ในส่วนของอริยสัจ ๔ นั้น ปัญญานี้ก็คือ รู้ว่าทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่เราต้องกำหนดรู้ แต่ว่าเป็นการให้รู้แล้ววาง ไม่ใช่รู้แล้วแบกไว้ บุคคลที่พิจารณาแล้วเห็นทุกข์แล้วเอาทุกข์ไปแบกไว้ จะเป็นบุคคลคนที่น่าสงสารมาก เพราะว่าจะพบกับความทุกข์ที่ชัดเจนและหนักหน่วงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ถ้าหากว่ารู้แล้วปล่อยวางได้ ก็จะเกิดความเบา ความสบาย

ปัญญาถัดไป ก็จะเห็นว่า สมุทัยนั้นเป็นสิ่งที่ควรละ เพราะว่าถ้าไปแตะต้อง ไปสร้างเหตุขึ้นเมื่อไร ความทุกข์จะเกิดแก่เราได้ทันที

ส่วนพระอริยสัจข้อต่อไปนั้น ปัญญาเหล่านี้ต้องรู้ว่า นิโรธนั้นจำเป็นต้องทำให้แจ้ง ถ้าเข้าไม่ถึงนิโรธ ก็แปลว่าเรายังไม่สามารถที่จะดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

และท้ายสุด รู้ว่ามรรคนั้นจะต้องทำให้เจริญ คือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ตั้งแต่ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ไปจนถึงสัมมาสมาธิ มีสมาธิตั้งมั่นโดยชอบ

นี่เป็นปัญญาตามอริยสัจ ๔ แต่ว่าจริตนิสัยบางคนไม่ชอบ เพราะเห็นว่าอริยสัจนั้นยากและหนักเกินไป ก็มาใช้ปัญญาในการพิจารณาไตรลักษณ์แทน

ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะปกติที่มีแก่คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของต่าง ๆ ในโลกนี้ทั้งหมด ว่ามีสภาพที่เหมือนกันอยู่ ๓ อย่างก็คือ อนิจจัง มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง แล้วสลายไปในที่สุด

ลักษณะที่ ๒ ก็คือ ทุกขัง เป็นสิ่งที่ต้องทน สิ่งไหนที่ต้องทน สิ่งนั้นก็คือความทุกข์ ในเมื่อมีสภาพที่จำเป็นจะต้องทนอยู่กับมัน ถ้าหากว่าเรากำหนดรู้แล้วว่า ทุกข์นั้นเป็นธรรมดาของสังขาร เกิดมาเมื่อไรก็ต้องมีทุกข์ สังขารจะอยากทุกข์ก็ทุกข์ไป เราไม่ไปยุ่งไปเกี่ยวก็แล้วกัน สิ่งไหนที่พอจะผ่อนคลายความทุกข์ได้เราก็จะทำ แต่ถ้าสุดความสามารถแล้วไม่สามารถจะผ่อนเบาบรรเทามันลงได้ เราก็จะวาง

และข้อสุดท้ายคือ อนัตตา ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเหลือเป็นตัวตนเราเขาให้ยึดถือมั่นหมายได้ ทุกอย่างต้องเสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ก็จะออกมาในสภาพนี้

ถ้าพิจารณาดูตัวเราเองก็จะเห็นตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ๆ เป็นเด็กโต เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน เป็นคนแก่ เป็นคนตาย เป็นต้น นี่คือความไม่เที่ยง

หรือว่าเห็นความทุกข์ของการเกิด ของการแก่ ของการเจ็บ ของการตาย ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ของการได้รับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบใจ ของการกระทบกระทั่งจากอารมณ์ไม่ปรารถนา เป็นต้น และท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเหลือเป็นเราเป็นของเรา ทุกอย่างสักแต่ว่า เป็นนาม เป็นรูป เป็นธาตุเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-09-2010 เมื่อ 02:03
สมาชิก 55 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา