ถาม : เรื่องการตำหนิกรรม ในหน้าที่การงานอย่างที่เราสั่งสอนเขา ถือว่าเป็นการตำหนิกรรมหรือเปล่าคะ ?
ตอบ : ถ้าหากสอนก็สอนโดยยกตัวอย่างให้ชัดเจน แต่การตำหนิกรรม บางทีไม่ใช่การสอน การตำหนิกรรมส่วนใหญ่จะใส่อารมณ์ร่วมไปด้วย รัก โลภ โกรธ หลง ก็เลยงอกงาม รักที่จะสอนเขากำลังใจของเราต้องมั่นคงพอ
ถาม : ต้องตีไปยิ้มไปใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ประเภทตีด้วยอุเบกขา อย่าไปตีด้วยโทสะ
ถาม : แล้วในกรณีที่เราพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ พูดถึงการกระทำของบุคคลอื่น ?
ตอบ : จะมากจะน้อยก็มีโทษ เพราะพระพุทธเจ้าท่านให้ อัตตนา โจทยัตตานัง กล่าวโทษโจทย์ตนเอง มีอะไรก็แก้ไขที่ตัวเองให้ดี เราไม่สามารถจะแก้ไขคนอื่นเขาได้ เพราะเรื่องของคนอื่น คือ เรื่องของโลก โลกทั้งโลกหนักเกินกำลังของเรา ดูที่ตัวแก้ที่ตัวจึงจะเกิดผล
ถึงแม้ว่าการทำงานนั้นจะต้องทำร่วมกัน ก็รอเวลาที่ประชุมกันเกี่ยวกับงาน ถ้าอย่างนั้นก็ใส่กันได้เต็มที่เพราะว่าเป็นหน้าที่ แต่ถ้าเป็นนอกเวลา โบราณเขาถือคติว่า ถ้าติให้ติลับหลัง ถ้าชมให้ชมต่อหน้า ถ้าติต่อหน้าคนอื่น น้อยคนที่จะรับได้ ดีไม่ดีก็โกรธกันไปตลอดชีวิตเลย
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-10-2010 เมื่อ 14:03
|