ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 08-12-2010, 06:39
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,485 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

ถาม : เราตั้งใจมากเกินไป ?
ตอบ : ตัวตั้งใจมากเกินไปก็เป็นตัวอุทธัจจะ พาให้ฟุ้งซ่าน

การทรงฌานนี่ลำบาก ถ้าหากว่าเราไม่สามารถทรงฌานได้คล่องตัวชนิดเข้าฌานไหนก็ได้ เมื่อนั้นก็จะเป็นตัวถ่วงทิพจักขุญาณ

เพราะทิพจักขุญาณจะเกิดเมื่อ อยู่ในอุปจารสมาธิ หรือ ฌาน ๔ เต็มกำลัง

คราวนี้อยากจะเปรียบว่า เหมือนกับมีห้อง ๒ ห้อง ชั้นล่างกับชั้นบน ในห้องมีทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกันหมด มีบันไดอยู่ระหว่างกลางจากชั้นล่างขึ้นไปชั้นบน ถ้าเราอยู่อุปจารสมาธิ คือ อยู่ชั้นล่าง ถ้าฌาน ๔ ก็อยู่ชั้นบน เห็นได้เหมือนกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมด ถ้าหากเราอยู่ระหว่างฌาน ๑ ๒ ๓ ก็เจ๊ง..ถึงอยู่ในฌาน ๔ ถ้าเป็นฌาน ๔ หยาบก็ยังไม่ถึงจุดที่จะเห็นได้

เพราะฉะนั้น..ถ้าหากว่าเรามีพื้นฐานการภาวนามาก่อนแล้ว แต่เราลดกำลังใจมาสู่อุปจารสมาธิไม่เป็น หรือส่งกำลังใจขึ้นไปฌาน ๔ ละเอียดไม่เป็น จะทำให้เกิดทิพจักขุญาณไม่ได้

พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า บุคคลผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ตั้งใจปฏิบัติภาวนา ทรงสมาธิได้ สร้างฌานสมาบัติให้เกิดได้

บุคคลผู้ปฏิบัติภาวนาเป็นแสนคน จะทรงฌานได้สักคนก็แสนยาก
บุคคลผู้ทรงฌานเป็นแสนคน จะทรงฌาน ๔ ได้สักคนก็แสนยาก
บุคคลผู้ทรงฌาน ๔ เป็นแสนคน จะได้ทิพจักขุญาณสักคนก็แสนยาก

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-06-2015 เมื่อ 14:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 109 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา