ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 16-12-2010, 11:12
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,568 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เรื่องของสมาธิจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะกำลังของสมาธินั้น สร้างให้เกิดทั้งสติและปัญญา เมื่อมีสติมั่นคง สมาธิทรงตัว ปัญญาก็จะเกิด ทั้งแหลมคมและว่องไว ช่วยให้สามารถนำเอากรรมฐานคู่ศึกมาต่อต้านอารมณ์กิเลสได้ทันท่วงทีทุกครั้ง

ดังนั้น..ในการปฏิบัติของเรา ทำอย่างไรจะให้เกิดความคล่องตัวในการเข้าสมาธิ คือเข้าฌานออกฌานได้ตามใจปรารถนา ก็ต้องอยู่ที่การซักซ้อมบ่อย ๆ ให้คล่องตัว อย่างที่อาตมาเคยยกตัวอย่างตนเอง เล่าให้ฟังว่า สมัยที่ฝึกทุ่มเทกับการปฏิบัตินั้น จะซ้อมการเข้าออกสมาธิโดยการนอนลงและลุกนั่ง

ทันทีที่นอนลง สมาธิจะเข้าลึกไปตามลำดับ ๆ เมื่อร่างกายนอนราบถึงที่สุด ก็เข้าเต็มที่เท่าที่ตนเองทำได้ เมื่อเริ่มที่จะลุกขึ้น สมาธิก็จะคลายออกมาเป็นลำดับไปเรื่อย จนกระทั่งนั่งขึ้นมาก็จะออกมาที่อุปจารสมาธิพอดี

ถ้าถามว่าสมาธิที่เข้าลึกถึงระดับนั้น สามารถบังคับร่างกายให้เคลื่อนไหวได้ด้วยหรือ? ก็ขอบอกว่า ถ้ามีความคล่องตัวและชำนาญจริง ๆ เราสามารถบังคับร่างกายเคลื่อนไหวได้ อย่างที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงได้กล่าวไว้ว่า เป็นฌานใช้งานหรือสมาธิใช้งาน

แต่ถ้าเราไม่มีความคล่องตัว ขาดวสีภาพหรือความชำนาญแล้ว พอสมาธิเริ่มทรงตัว ร่างกายก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ เพราะจิตกับประสาทเริ่มแยกออกจากกัน ทำให้บังคับร่างกายไม่ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-12-2010 เมื่อ 14:26
สมาชิก 36 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา