ชื่อกระทู้: วิธีพ้นภัยตนเอง
ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 11-02-2011, 17:34
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,889 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธัมมวิจยะหรือธัมมวิจัย

(บุคคลใดที่ใคร่ครวญพระธรรมวินัยอยู่เสมอ บุคคลนั้นจักไม่เสื่อมจากพระธรรม หรือไม่เสื่อมจากสัจธรรม บุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นเห็นเราตถาคต ความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรมหรือจิตที่ทรงธรรม มิใช่อยู่ที่ร่างกาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระพุทธพจน์ทั้งสิ้น)

จากการศึกษาพระไตรปิฏกว่าด้วยพระธรรมวินัย แล้วนำมาธัมมวิจยะพอสรุปได้ดังนี้

๑. ภิกษุอาทิกัมมิกะ (ภิกษุประพฤติชั่วโดยไม่รู้ก่อนที่จะบัญญัติศีล) เป็นผู้ทำให้เกิดศีล ๒๒๗ เพราะเหตุใด ต้นเหตุทั้งหมดเกิดจากอารมณ์โลภ โกรธ หลง และโลกธรรม ๘

๒. โลกธรรม ๘ กับศีล เกี่ยวข้องกันอย่างไร

๓. โลกธรรม ๘ กับอารมณ์ ๓ คือ โลภ-โกรธ-หลง ก็เกี่ยวเนื่องกันหมด

๔. ธรรมหรือกรรมทั้งหลาย ล้วนมาแต่เหตุทั้งสิ้น

๕. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย

๖. พระองค์สอนหรือแสดงธรรมไปในทางเดียวกัน เกี่ยวเนื่องกัน เดินไปในทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันเลย ถ้าผู้รับฟังฟังแล้วเข้าใจ

๗. ที่เกิดการขัดแย้งกัน มีความเห็นแตกต่างกัน (มีทิฏฐิต่างกัน) เพราะจิตของบุคคลผู้นั้นยังเจริญไม่ถึงจุดนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์พอใจ และไม่พอใจขึ้น หมายความว่ามีบารมีธรรมแค่ไหน ย่อมรู้ธรรมได้แค่นั้น เมื่อบารมีธรรมถึงแล้วก็จะเข้าใจ และไม่ขัดแย้งกันอีกต่อไป

๘. ในการปฏิบัติทั้ง ๆ ที่รู้ ๆ อยู่นี่แหละ ก็ยังอดเผลอไม่ได้ เหตุจากโมหะ ความหลง หลงใหญ่ที่สุดคือ หลงคิดว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวสักกายทิฏฐิ (ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายเรียกว่าสักกายทิฏฐิ) เมื่อหลงคิดว่าตัวกูเป็นของกูแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย จึงเหมาเอาว่าเป็นของกูทั้งหมด

๙. ในการปฏิบัติสำหรับคนฉลาด มีปัญญาสูง พระองค์ทรงให้ตัดหลงใหญ่ตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิข้อเดียว หลงเล็ก ๆ ก็หลุดจากจิตหมด สามารถจบกิจในพระพุทธศาสนาได้

๑๐. กฎของกรรมหรืออริยสัจตัวเดียวกัน กรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ทำไว้ในอดีต วิบากกรรมหรือผลของกรรมย่อมไม่เกิดกับเราในปัจจุบัน ทั้งฝ่ายดี (กุศลกรรม) และฝ่ายชั่ว (อกุศลกรรม)

๑๑. ใครหมดความหลงจึงจบกิจในพุทธศาสนา เพราะหลงเป็นเหตุจึงทำให้เกิดอารมณ์ไม่พอใจ (ปฏิฆะหรือโทสะ) และพอใจ (ราคะหรือโลภะ)

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง เพื่อให้เห็นประโยชน์อันหาประมาณมิได้ของธัมมวิจัย ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในทางพุทธ ใครทำใครได้ ใครเพียรมากพักน้อย เดินทางสายกลางก็จบเร็ว แต่ส่วนใหญ่มักเพียรน้อย พักมาก ยังหาทางสายกลางไม่พบก็จบช้า

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-02-2011 เมื่อ 02:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา