ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 13-02-2011, 08:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,667
ได้ให้อนุโมทนา: 152,012
ได้รับอนุโมทนา 4,416,502 ครั้ง ใน 34,257 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..แม้ว่าเราจะรู้ว่า การปฏิบัติบูชานั้นดี แต่การปฏิบัติก็ยังมีอยู่หลายระดับ ระดับแรกได้แก่ระดับของศีล ก็คือ สามารถควบคุมกายวาจาของเราให้อยู่ในกรอบได้ ไม่ล่วงละเมิดด้วยการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดโกหก หรือว่าดื่มสุราเมรัย เป็นต้น

ในระดับของสมาธิ เราควบคุม กาย วาจา และใจ ของเราได้ โดยที่สามารถบังคับจิตใจของเราให้จดจ่อแน่วแน่อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะมีอานิสงส์มากกว่าการปฏิบัติในศีลเป็นร้อยเท่า ส่วนในเรื่องของปัญญา เป็นการที่เราพิจารณาแล้ว รู้แจ้งเห็นจริงในสามัญลักษณะของสรรพสิ่งแล้วจิตใจยอมรับได้

เราจะเห็นได้ว่าในช่วงตรุษจีน หลายต่อหลายท่านได้ในสิ่งที่ตนเองปรารถนา อย่างเช่นว่า ได้เงินโบนัส หรือเงินแต๊ะเอียของจีนเขา เราก็ดีใจ บางท่านได้เป็นสิ่งของ เป็นทองคำ เป็นรถยนต์ ก็มี แต่ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้น ก็เพียงแต่สร้างความปีติยินดีให้กับเราเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ของที่จีรังยั่งยืน

ความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ถ้าหากว่าเรามีปัญญาดังนี้ ก็จะต้องหาช่องทางว่า ทำอย่างไรเราถึงจะไม่ต้องมาเกิดอีก ก็ต้องย้อนกล่าวกลับไปถึงการปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ที่ผ่านมา

ศีลทำให้เราสามารถควบคุมกายวาจาเอาไว้ได้ ป้องกันการล่วงละเมิดในกิเลสหยาบ คือในส่วนของวีติกกมกิเลสได้ สมาธิเป็นการควบคุมกาย วาจา และใจของเรา บังคับให้ใจของเรานั้น อยู่ในกรอบของความดี ทำให้ในส่วนของกิเลสที่กรุ่นอยู่ในใจของเรา โดนดับสงบลงชั่วคราวได้ คือ สมาธิจะเป็นส่วนในการที่หักห้ามปริยุฏฐานกิเลส กิเลสที่กรุ่นอยู่ในใจของเราให้ดับลงได้ชั่วคราว

จนกระทั่งสุดท้ายจำเป็นต้องใช้ปัญญา ในการถอนอนุสัยกิเลส อย่างเช่น กามราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นต้น ก็คือในส่วนของกามราคะก็ดี ในส่วนของโทสะก็ดี ในส่วนของอวิชชาความรู้ไม่ทั่วถึงธรรมก็ดี ซึ่งฝังรากลึกอยู่ในใจของเรานั้น

จำเป็นต้องใช้ปัญญาในการขุดค้น ในการตัดทอน ในการลด ละ แล้วก็เลิก ในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นลงไป ซึ่งก็ต้องอาศัยกำลังของศีลสร้างเสริมให้สมาธิทรงตัว แล้วอาศัยกำลังของสมาธิสร้างเสริมให้เกิดปัญญา เมื่อมีปัญญาแล้ว ก็ไปควบคุมศีลและสมาธิให้ทรงตัวอีกระดับหนึ่ง จะเป็นการหมุนเวียนกันไปอย่างนี้ เป็นต้น

จนสามารถที่จะรู้เห็นกิเลสได้อย่างชัดเจน แล้วก็ละเว้นการประพฤติอันเป็นต้นเหตุแห่งการก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นกับเรา เมื่อเราเว้นการสร้างเหตุแห่งทุกข์ได้ ทุกข์ก็ไม่เกิดกับเรา และท้ายสุดเราดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง คือรู้เห็นตามความเป็นจริง แล้วในที่สุด ก็ถอดถอนละวางเสียซึ่งความปรารถนาในร่างกายนี้ ความปรารถนาในโลกนี้ ความปรารถนาในการเกิด
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-02-2011 เมื่อ 15:00
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา