ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 28-03-2011, 12:23
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,678
ได้ให้อนุโมทนา: 152,056
ได้รับอนุโมทนา 4,416,956 ครั้ง ใน 34,268 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คำต่อไปที่แสดงถึงความสิ้นกิเลส ท่านกล่าวว่า ตณฺหกฺขโย แปลว่า สิ้นหมดแล้วซึ่งกิเลสตัณหา คือ หมดความอยาก ความอยากในที่นี้ มีทั้งความอยากที่เป็นกามตัณหา ก็คืออยากในกาม ต้องการสิ่งใด ก็ไขว่คว้าหามา

ภวตัณหา อยากตามสภาพปกติ อย่างเช่น อยากสวย อยากรวย อยากที่จะมีร่างกายแข็งแรง เป็นต้น ต่อไปท่านเรียกว่า วิภวตัณหา มีความอยากที่เป็นสภาพตรงกันข้าม เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย เป็นต้น

แม้ว่าจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ไม่อยาก แต่ที่แท้จริงแล้ว เป็นความอยาก คือ อยากที่จะไม่แก่ อยากที่จะไม่เจ็บ อยากที่จะไม่ตาย ท่านถึงเรียกว่า วิภวะ คือ สภาพตรงกันข้ามกับภวะ ถ้าหากว่าเราสามารถทำให้สิ้นตัณหา คือความอยากนี้ได้ ก็แปลว่าเข้าถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงนั่นเอง

คำต่อไปที่กล่าวถึงบุคคลที่สิ้นกิเลสแล้ว ท่านใช้คำว่า วิราโค , วิราคะ ในที่นี้คือ หมดแล้วซึ่งความยินดี อยากมีอยากได้ในสิ่งทั้งปวง ในเมื่อหมดความยินดี ความอยากมีอยากได้ในสิ่งทั้งปวง ก็ไม่ไปดิ้นรนไขว่คว้าหามา จิตใจก็จะสามารถปลดปล่อยวางซึ่งภาระต่าง ๆ ได้อย่างสิ้นเชิง มีความผ่องใส พ้นจากกิเลส เข้าสู่พระนิพพานได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-03-2011 เมื่อ 17:19
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา