ดูแบบคำตอบเดียว
  #10  
เก่า 03-04-2011, 14:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,672
ได้ให้อนุโมทนา: 152,022
ได้รับอนุโมทนา 4,416,900 ครั้ง ใน 34,262 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ในเรื่องของการทำบุญทำกุศลจึงต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเราทำ ๆ ทิ้ง ๆ เปิดโอกาสให้กรรมหนักแทรกเข้ามาได้ ช่วงนั้นถ้ากรรมสนองเข้า บางคนก็อาจจะเข้าใจผิดเกิดมิจฉาทิฐิ คิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ซึ่งความจริงทำดีต้องได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่วเป็นปกติ เพียงแต่กำลังความดียังสูงอยู่

ในเมื่อทำความชั่วแล้วกำลังความดียังสามารถคานเอาไว้ได้ ก็รับผลดีไปก่อน เราก็จะคิดว่าทำชั่วแล้วได้ดี แต่ถ้าหากกำลังของความชั่วสูงกว่า ทำดีเท่าไรก็ยังไม่สามารถคานกับกำลังของความชั่วได้ เราก็จะไปคิดว่าทำดีแล้วได้ชั่ว ซึ่งจะกลายเป็นมิจฉาทิฐิไป

ความจริงแล้วทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่วแน่นอน เพียงแต่วาระการส่งผลนั้น มีการยักเยื้องไปตามกรรมที่หนักเบา ไปตามการให้ผล ซึ่งเป็นระยะเวลา อย่างการให้ผลในชาตินี้ ให้ผลชาติหน้า ให้ผลชาติที่สอง ชาติที่สาม ชาติที่สี่ เป็นต้น

ท่านเปรียบไว้ว่า การที่กรรมหนักบางประเภทให้ผล ก็เหมือนกับการปลูกถั่วงอก แค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ได้กินแล้ว แต่ขณะเดียวกันถ้าเราปลูกไม้ผล ยืนต้น อย่างน้อย ๆ ก็ ๓-๕ ปี กว่าจะได้ผล แต่ถ้าเป็นถั่วงอกเพาะเสร็จแล้วกินหมด ไม่มีเหลือ แต่กรรมบางอย่างเหมือนกับไม้ผล ผลิดอกออกผลไปเรื่อย ๆ ตามวาระของเขา

ในเรื่องของกรรมนั้นองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่าอย่าประมาทว่ากรรมเพียงเล็กน้อยแล้วไปทำ ขณะเดียวกันก็อย่าประมาทว่าความดีเพียงเล็กน้อยแล้วไม่ทำ เพราะว่ากรรมนั้นไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ถ้าถึงวาระที่เหมาะสม ก็สามารถที่จะส่งผลให้ได้ทันที
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-04-2011 เมื่อ 16:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 249 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา