ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 07-07-2011, 20:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,642
ได้ให้อนุโมทนา: 151,907
ได้รับอนุโมทนา 4,415,556 ครั้ง ใน 34,232 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ให้ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัวเอง ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้เฉพาะหน้า หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒-๓ ครั้ง เป็นการระบายลมหยาบออกให้หมด หลังจากนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจตามปกติ

หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป ว่าตอนนี้ลมผ่านจมูก ผ่านกึ่งกลางอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา ว่าตอนนี้ลมออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก

สำหรับวันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันแรกของเดือนนี้ วันนี้มีญาติโยมหลายท่านมาทำบุญ พอสอบถามดูจึงทราบว่าเป็นวันหยุดประจำภาคของธนาคาร ทำให้ท่านทั้งหลายสามารถที่จะมาทำบุญในวันหยุดได้

วันหยุดประจำภาคของธนาคารนั้น ถือว่าเป็นวันหยุดของทางโลก ทำให้เราได้พักผ่อนหนึ่งวัน แต่ว่าการพักของเรานั้น เป็นการพักทางกาย ถ้าพักเฉพาะทางกายโดยที่ใจไม่ได้พัก เราจะรู้สึกว่าพักเท่าไรก็ไม่หายเหนื่อยเสียที เป็นความเหนื่อยลึก ๆ อยู่ข้างใน บางทีเหนื่อยล้าจนบอกไม่ถูก อยากจะนอนสัก ๓ วัน ๓ คืนก็ดี นั่นเป็นสาเหตุจากว่าใจของเราไม่ได้พัก ใจของเรานั้นคิดฟุ้งซ่านส่งส่ายอยู่ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น ทำให้ไม่มีเวลาพักเลย ดังนั้น..การที่จะให้ใจได้พักนั้น เราต้องรู้จักหยุด

สำหรับการที่จะหยุดกำลังใจนั้น ก็คือหยุดความคิดคำนึง หรือว่าหยุดอยู่กับปัจจุบัน การที่เราจะหยุดอยู่กับปัจจุบันนั้น สิ่งที่ดีที่สุดก็คืออยู่กับลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราเกาะอยู่กับลมหายใจ ไหลเข้าไป ผ่านอก ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดอยู่กับลมหายใจ ไหลออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก

ให้ความรู้สึกทั้งหมดอยู่กับลมหายใจตรงนี้ อย่าเคลื่อนไปไหน ถ้าเผลอไปคิดเรื่องอื่นเมื่อใดก็ให้ดึงกลับมาตรงนี้ ถ้าอย่างนี้จะเป็นการหยุดในเบื้องต้น ทำให้สภาพจิตของเราได้หยุดพักเช่นเดียวกับร่างกาย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 08-07-2011 เมื่อ 14:23
สมาชิก 71 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา