ดูแบบคำตอบเดียว
  #78  
เก่า 25-10-2011, 21:04
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,960 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ในสภาวะที่จิตนิ่ง พอเราเป็นแก้วก็เหมือนกับว่ารัก โลภ โกรธ หลง บางอย่างยังเกาะได้อยู่ แต่ถ้าพอจิตเรานิ่งใสเป็นประกายพรึก กิเลสละเอียดต่าง ๆ ก็จะเกาะไม่ได้อีกต่อไป หมายความว่าถ้าทำจิตสุดท้ายแบบนี้แล้ว เราก็ไม่ต้องไปเกาะอะไรหรือคะ ?
ตอบ : เป็นการพ้นกิเลสโดยเจโตวิมุติ คือใช้กำลังใจข่มไว้ แต่เราต้องไปให้ถึงจริง ๆ ถ้าไปไม่ถึง เผลอเมื่อไรกิเลสต่าง ๆ ก็จะกลับมาอีก

ถาม : บางครั้งจิตจะเห็นเหมือนกับว่าสิ่งข้างนอกเป็นสิ่งที่เราเห็น นั่นคือสิ่งที่เรารับรู้ แต่สภาพในใจจริง ๆ คือ..?
ตอบ : ก็คือสภาพการรับรู้ของจิต ถ้าเราให้ความสนใจเมื่อไร ตัวนิ่งก็จะยื่นหน้าไปใกล้กับสิ่งนั้น แล้วถ้าควบคุมไม่เป็นก็จะไหวกระเพื่อมไปกับสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะเกิดขึ้นกับเรา

แต่ถ้าเรารับรู้เท่าที่จำเป็น รักษาความสงบไว้ ข้างนอกสักแต่ว่าได้เห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่าได้รส สักแต่ว่าสัมผัส กิเลสก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายเราได้ เพราะเท่ากับว่าอารมณ์ข้างในไม่กระเพื่อม

ถาม : อย่างนี้ส่วนสุดท้ายก็คือพยายามทำให้จิตนิ่งละเอียดถูกไหมคะ ?
ตอบ : สิ่งสำคัญที่สุดก็คืออย่าไปต่อความยาวสาวความยืด อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากสติรู้อยู่กับปัจจุบัน ถ้าจำเป็นต้องยุ่งก็ออกไปด้วยความระมัดระวังอย่างมีสติ ถึงเวลาก็กลับมาสู่ความสงบอยู่ตามเดิม

โดยเฉพาะจุดที่ต้องระวังมากที่สุด คือ การยินดียินร้ายกับสิ่งใดง่ายเกินไป สภาพจิตแม้จะเป็นปีติยินดีในธรรมก็ตาม ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะเป็นแค่กำลังของกามาวจรเท่านั้น ต้องก้าวข้ามผ่านจุดนั้นไปให้ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-10-2011 เมื่อ 02:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 164 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา