๖. “
อย่าห่วงใครมากกว่าห่วงใจตนเอง มรรคผลนิพพานเป็นเรื่องส่วนตัวแท้ ๆ เป็นกิจภายในที่ไม่มีใครทำแทนกันได้ การชี้แนะ การบอกแนวทางนั้นบอกได้ แต่
มรรคผลอันพึงเกิดขึ้นได้จริง ๆ ก็ต่อเมื่อผู้ฟังนำไปคิดพิจารณา แล้วหาทางปฏิบัติเอาเองเท่านั้น จึงจักเป็นของจริง หมั่นพิจารณาร่างกายให้มากขึ้น ค่อย ๆ พิจารณาให้เห็นชัดขึ้น ๆ ก็จักวางภาระร่างกายนี้ลงได้”
๗. “การปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว
ให้สำรวจใจดูว่า จริงจังกับกรรมฐานเต็มที่หรือยัง ลองสำรวจใจให้ลึก ๆ ซิว่า กรรมฐานกองไหนที่ตนยังมีความบกพร่องอยู่ให้รีบแก้ไขกองนั้น อย่าคิดว่าทำไม่ได้ ต้องตั้งใจว่าทำได้ เพราะถ้าหากทำไม่ได้ก็ไปพระนิพพานไม่ได้ การไปพระนิพพานจักต้องเอาจริงกัน มิใช่สักแต่ว่าทำอะไรเล่น ๆ หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง
หรือมัวแต่คิดว่า เวลายังเหลืออยู่มากก็ใช้ไม่ได้ จัดว่าเป็นการประมาทอย่างยิ่ง สำรวจใจดูให้ดี อย่าเข้าข้างตนเอง จักเห็นว่ายังมีจุดบกพร่องอีกเยอะ และตราบใดที่ยังไม่เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
สำรวจแล้ว กิเลสโลภ โกรธ หลง ยังอยู่ในจิต ก็แสดงว่ายังดีไม่พอ อย่าหลงคิดว่าตนเองดีแล้วเป็นอันขาด”
๘. “เวทนาของร่างกาย ให้สักเพียงแต่ว่าเป็นของร่างกาย
และจงพยายามอย่าเอาจิตไปยึดเกาะในเวทนานั้น ๆ รู้จำเป็นต้องรู้ เพื่อให้จิตเห็นความไม่เที่ยงของกายสังขาร หรืออุปาทานขันธ์ ๕ ก็จักกำเริบได้น้อย อนึ่ง ถ้าหากจุดนี้ทำได้ จิตจักสงบมาก ไม่เดือดร้อนใจไปกับทุกขเวทนา หรือสุขเวทนาของกายสังขาร พิจารณาให้รอบคอบแล้วจักเห็นหนทางให้จิตเป็นไป”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com