ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 10-03-2012, 08:40
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,657
ได้ให้อนุโมทนา: 151,979
ได้รับอนุโมทนา 4,416,131 ครั้ง ใน 34,247 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อีกส่วนหนึ่งที่พึงระวังก็คือว่า บุคคลที่มีวิสัยเดิมมาในด้านเตวิชโช คือการปฏิบัติตามแนววิชชา ๓ ก็ดี ฉฬภิญโญ คือการปฏิบัติตามแนวอภิญญา ๖ ก็ดี หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต คือการปฏิบัติตามแนวของปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ ก็ดี

เมื่อกำลังใจสงบไปถึงจุดหนึ่ง ความสามารถพิเศษต่าง ๆ จะปรากฏขึ้น โดยเฉพาะทิพจักขุญาณปรากฏขึ้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะไปยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่เรารู้เห็นต้องเป็นจริงตามนั้น ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ทั้งสิ้น

การรู้เห็นนั้นเรารู้เห็นจริง ๆ แต่เรื่องที่เรารู้เห็นนั้นไม่แน่ว่าจะเป็นจริงตาม เพราะมีการทดสอบอยู่ตลอดเวลา และถ้าหากว่าญาณคือเครื่องรู้ปรากฏขึ้น ยิ่งต้องระมัดระวังให้จงหนัก เพราะว่าตอนนั้นเราต้องการรู้เรื่องอะไร ก็จะรู้ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกเรื่องทางธรรม ขบคิดพิจารณาอย่างไรก็จะเห็นความเกี่ยวโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมด สืบสาวราวเรื่องต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งคิดก็ยิ่งกว้างไกล ยิ่งคิดก็ยิ่งแตกฉาน

แต่จุดที่ต้องระมัดระวังก็คือว่า สิ่งที่เราคิดนั้นช่วยในการตัดกิเลสหรือไม่ ? ทำให้รัก โลภ โกรธ หลง เบาบางไปจากใจของเราหรือไม่ ? ถ้าหากว่าไม่ได้ช่วยในการตัดกิเลส ไม่ได้ช่วยให้รัก โลภ โกรธ หลง เบาบางไปจากใจของเรา ก็ให้รู้ว่าเรากำลังโดนหลอกให้หลงทางแล้ว เขากำลังหลอกให้เราเตลิดเปิดเปิง ออกทะเลหาฝั่งไม่เจอ ท้ายสุดก็เสียเวลาไปอีกชาติหนึ่ง เพราะไม่สามารถที่จะเข้าถึงมรรคผลตามที่เราต้องการได้

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติเสมอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทั้งสติและปัญญา สติคือรู้จักยั้งคิด รู้จักพิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ช่วยในการตัดกิเลสของเราหรือไม่ ปัญญาคือการเล็งเห็นประโยชน์ของทิพจักขุญาน ของญานเครื่องรู้ต่าง ๆ ว่าเป็นเพียงส่วนหนุนเสริมในการปฏิบัติของเราให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้าเท่านั้น ความสามารถทั้งหลายเหล่านี้เหมือนมีด ๒ คม ถ้าเราแตะต้องผิดด้านเมื่อไรก็จะบาดเจ็บเองเมื่อนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-03-2012 เมื่อ 03:24
สมาชิก 71 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา