(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส ฯ
(ในเบื้องต้นแต่นี้ไป พวกเราจงพากันกระทำความนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตื่นแล้วเบิกบานแล้ว โดยพร้อมเพรียงกันเถิดฯ)
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ, (ว่า ๓ ครั้ง)
(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ ด้วยพระองค์เอง ฯ)
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า
อิติปิ โส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้