เวลาไหว้ครู ท่านเลี้ยงอาหารด้วย เวลาเป่ายันต์คนเป็นหมื่น ท่านก็เลี้ยงอาหารหุงข้าวเลี้ยง หุงด้วยกะทะ ข้าวต้มข้าวแกง ตามที่ท่านจะทำได้ เรียกว่า บุคคลใด ใครจะกินอย่างไรท่านไม่รู้ ท่านรู้แต่เพียงว่ามีอาหารให้บริโภค เพราะท่านถือตามแบบพระว่า พระจะต้องทำตนเป็นคนเลี้ยงง่าย ถ้าใครเป็นคนกินยากที่มนุษย์ธรรมดากินไม่ได้ ก็ไปหากินเอาเอง ท่านทำอาหารตามที่มนุษย์ธรรมดากินได้ คือ เอาชาวบ้านมาทำครัว มาต้มมาแกง
ยันต์เกราะเพชรของท่าน เป่าคราวหนึ่งเป็นพันคน ศาลาของท่านจุคนประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ คนในแต่ละคราว แต่ก็ต้องทำเป็นรุ่น ๆ อย่างน้อยที่สุดก็ ๕ - ๖ รุ่นต่อ ๑ คราว ต่อหนึ่งวาระ (หมายถึง เสาร์ ๕ ครั้งหนึ่ง)
นี่เราจะเห็นได้ว่าคนที่รับยันต์เกราะเพชรของหลวงพ่อปานนะ ครั้งหนึ่งก็ไม่น้อยกว่าหมื่นคน
จาก ตำราพระบูรพาจารย์
(คัดลอกอีกที จากหนังสือ สมบัติพ่อให้ พิมพ์ครั้งที่ ๒ หน้า ๑๓๘ - ๑๔๐)
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
|