ร้อยกรองช่วยจำกำหนดวันฤกษ์พรหมประสิทธิ์
อ้างอิง :
http://www.horasadhome.com/rerg.html
วันอมฤตโชค
อัษฎา สุริเยศแจ้ง จันทร์ตรี
ภุมเมศเก้า โดยมี กล่าวไว้
พุธสอง,สี่ ครูสี่ ศุกร์หนึ่ง
เสาร์ห้า อมฤตใช้ โชคล้วนศุภผล
จะประกอบพิธีอันใดย่อมเป็นกุศล ได้รับความสำเร็จทุกประการ
นี่เป็นเพชรเม็ดงามในการให้ฤกษ์เลยทีเดียว และใช้ได้ผลอย่างดีเยี่ยม
วันมหาสิทธิโชค
สิบสี่, ทวาทศ, ทั้ง สูรย์, จันทร์
ภุมเมศ สิบสามสรรพ์ เลิศล้วน
พุธสี่, เจ็ดชีว์วัน ศุกร์สิบ
เสาร์สิบห้าสิทธิถ้วน เที่ยงแท้มหาวัน
วันสิทธิโชค
สิบเอ็ดสุริยะ, เก้า วันครู
พุธทศ, สิบสี่ ภูม์เมศแผ้ว
จันทร์ห้า, สี่เสาร์ชู สิทธิโชค
ศุกร์สิบเอ็ดเพริศแพร้ว ผ่องแผ้วภัยพาล
ชื่อและความหมาย
อมฤตโชค คือ ความสำเร็จผล โชคดี
มหาสิทธิโชค คือ ความสำเร็จอันดียิ่ง
สิทธิโชค คือ ความสมปรารถนา
อภินันทการโดย อ.ฉกาจ กฤตภาสกฤษฎี
อ้างอิงจากตำราของ ท่านอาจารย์ธนกร สินเกษม
หมายเหตุ :
อัษฎ [อัดสะดะ] ว. แปด. (ส.; ป. อฏฺ?).
ภุม ๒,
ภุม ๑ [พุม, พุมมะ] น. ดาวอังคาร; วันอังคาร. (ป. ภุมฺม; ส. เภาม).
ทวา [ทะวา] (แบบ) ว. สอง. (ป., ส. ทฺวา).
ทศ ๑, ทศ- [ทด, ทดสะ-]ทศ ๑, ทศ- [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ.
ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
ชีว, ชีวะ [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น
ชีววาร. (ป., ส.).
สูรย [สูระยะ] น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ส.; ป. สุริย).