ดูแบบคำตอบเดียว
  #31  
เก่า 09-07-2012, 11:12
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,638
ได้ให้อนุโมทนา: 151,906
ได้รับอนุโมทนา 4,415,181 ครั้ง ใน 34,228 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "บางทีสื่อมวลชนก็ทำความหมายของภาษาไทยเสียหายได้ เมื่อครึ่งค่อนเดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐบอกว่า “กินข้าวต้มอย่ากระโจมกลาง” คือ อย่าไปตักกลางหม้อ อาตมาอ่านแล้วก็หัวเราะ แสดงว่าตักข้าง ๆ หม้อจะร้อนน้อยกว่าหรือ ? ข้าวต้มเดือด ๆ อยู่จะตักตรงไหนก็ร้อนเท่ากัน คำว่า “กินข้าวต้มอย่ากระโจมกลาง” ก็คือ อย่าพูนข้าวไว้ตรงกลาง เพราะว่าเย็นช้า เขาให้แหวกออกจะได้เย็นเร็ว

นอกจากนี้ไปเจอหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เขาเขียนเรื่องขุนศึก ตอนที่สมิงมะตะเบิดไล่ฟันทหารไทย จนไม่มีใครต่อต้านได้ อ้ายเสมาเลยขออนุญาตไป “ต่อกลอน” กับสมิงมะตะเบิด อาตมาจึงบอกว่าอ้ายเสมามีอารมณ์จริง ๆ เลย ขอไปต่อกลอนด้วย ที่ถูกต้องคือ "ต่อกร" ซึ่งแปลว่ารับมือ นี่อ้ายเสมาจะไปแต่งกลอนกลางสนามรบ..เจริญ..! ขนาดหนังสือพิมพ์ที่เป็นสื่อมวลชน คนเขาให้ความเชื่อถือมากยังพาเข้ารกเข้าพงขนาดนั้น แล้วต่อไปจะเหลืออะไร และคนที่เขียนข่าวก็ไม่ได้รู้สึกเลยว่าเขียนผิด

ขำมากคือที่เขาอธิบายว่า คำว่ากระโจมก็คือจ้วงเอาตรงกลาง แสดงว่าเขาเป็นเด็กรุ่นหลัง ไม่เคยเห็นว่ากระโจมหน้าตาเป็นอย่างไร กระโจม ก็คือ พูนข้าวต้มเอาไว้ตรงกลางแล้วจะเย็นช้า ต้องแหวก ๆ ออก หรือไม่ก็ใส่จานไปเลย เย็นเร็วดี

อาตมาเองเบื่อตอนที่ญาติโยมพยายามจะทำอะไรให้เจ้าอาวาสไม่เหมือนคนอื่นเขา จะได้ดูดีหน่อย ถึงเวลาก็ตักข้าวต้มใส่ชามฝาอย่างหนาเลย แล้วก็ปิดฝา กว่าอาตมาจะฉันได้ คนอื่นฉันไปตั้งนานแล้ว ใส่ชามหนาขนาดนั้นก็ร้อนพอแรงแล้ว ดันปิดฝามาอีก ดุไปหลายทีแล้วไม่เคยจำ"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-07-2012 เมื่อ 17:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 207 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา