ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 12-09-2011, 08:42
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๑๓. “จิตของตนจักได้เลิกเป็นตำรวจคอยจับผิดในบุคคลผู้อื่น จักได้ทำหน้าที่อยู่อย่างเดียว คือเป็นตำรวจคอยจับผิดจิตตนเองเป็นสำคัญ”

๑๔. “อนึ่ง อย่าไปขวางแนวทางของการปฏิบัติธรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะทิฐิคนนั้นย่อมไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ไม่เสมอกัน จิตของคนต่างกัน ทัศนะมุมมองก็ไม่เหมือนกัน จุดนี้ต้องคอยระวังไว้ด้วย

๑๕. "อย่าลืมผิด-ถูกของใครไม่มี มีแต่ไปตามกรรมมาตามกรรม ทุกอย่างเป็นธรรมดาไปหมด พิจารณาลงตัวธรรมดาให้ได้ แล้วจักมีจิตยอมรับกฎธรรมดา ความสงบสุขของจิตจักมีได้มาก

๑๖. “รักษาสุขภาพกาย รักษาสุขภาพจิต เป็นกิจของผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนั้น บุคคลผู้มีความคล่องในการกำหนดรู้กองสังขารแห่งกายและจิตอยู่เสมอ ย่อมเป็นสุขมากกว่าทุกข์ และย่อมดีกว่าผู้ไม่รักษาสุขภาพกายและจิต ปล่อยให้ทรุดโทรม แล้วเกิดอาการเบียดเบียนตนเองทั้งกายและจิต ถ้าอย่างนี้เป็นทุกข์มากกว่าเป็นสุข เพราะฉะนั้น พึงรักษากายและจิตให้มีสุขภาพดีด้วย จงอย่าเบียดเบียนตนเองเป็นอันขาดเพราะหากกายกับจิตมีสุขภาพดี การปฏิบัติธรรมก็ย่อมมีผลดี มีผลทรงตัวด้วย

๑๗. “แม่ชีปอทอตายแล้ว จิตก็รู้แล้วว่าไปไหน จงอย่าสนใจ เพราะไม่ใช่มรรคผลนิพพาน สมควรแล้วที่จักปล่อยวางกิเลสหรือกรรมของบุคคลอื่นเสีย แต่ก็พึงเตือนสติเอาไว้ว่า ลาภสักการะย่อมเป็นเครื่องฆ่าคนโง่ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สุข นั่นแหละเป็นเครื่องมอมเมาจิตใจให้คนหลงอยู่ ต้องไปสู่ทุคติ มีอบายภูมิ ๔ เป็นต้น” ให้เอาจุดนี้แหละมาเป็นประโยชน์ของตน เตือนจิตของตนอย่าไปเมาในลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สุขเป็นอันขาด เพราะไปติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ก็จักถ่วงการบรรลุมรรคผลให้เนิ่นช้าออกไป จงหมั่นตรวจสอบอารมณ์นี้เอาไว้เสมอ ๆ จักได้ไม่มีอะไรพลาด

๑๘. “อย่าไปสนใจในจริยาของผู้อื่น แม้จักเห็นว่าเป็นการที่เขากระทำไม่สมควรก็ตาม ให้ถือเป็นกรรมของเขา อย่าเอามาใส่ใจเรา จุดนี้แหละ ให้พวกเจ้าดูปฏิปทาของท่านพระ..ไว้ให้ดี ท่านทำตามหน้าที่ แต่จิตไม่เกาะ ไม่สนใจในกรรมส่วนตัวของเขา รู้นั้นรู้ได้ เพราะยังมีอายตนะ แต่รู้แล้วอย่าเอาจิตไปเกาะ รู้เอาไว้เป็นทัศนศึกษาสอนจิตเตือนใจของตนเอง อย่าไปประพฤติเยี่ยงเขา ท่านพระ...ท่านสอนให้เห็นว่าลาภสักการะเกิด ทำให้แม่ชีเดินทางผิด ที่ผิดหนักคือรู้แล้วว่าสิ่งนั้นไม่ควร แล้วยังตั้งใจกระทำไป นั่นแหละเป็นโทษของการปรามาสพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง คนที่รู้ว่าผิดแล้วยังเจตนาทำผิดนั้น โทษจึงหนักยิ่งกว่าผู้ที่ไม่รู้ว่าไม่ควรแล้วทำผิดเสียอีก”

๑๙. “เรื่องน้ำท่วมเป็นกฎของกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องชดใช้กันไปทั้งประเทศ บางพื้นที่ท่วมมากบ้าง-น้อยบ้าง-ไม่ท่วมบ้าง-ท่วมบ้าง ตามอัธยาศัยของกรรมที่ให้ผล อย่าไปกังวลให้มาก ให้ดูเป็นเรื่องของธรรมดา (น้ำท่วมวันในเดือน ก.ย. และ ต.ค. ๒๕๓๘) ทำจิตให้ยอมรับว่าเป็นกฎธรรมดา ให้เห็นทุกข์จากการขนของหนีน้ำ การมีร่างกายหรือขันธ์ ๕ ก็ต้องเหนื่อยอย่างนี้ การมีทรัพย์สินก็ต้องมีธุระทำให้เหนื่อยอย่างนี้ แล้วให้จับลงที่มรณาและอุปสมานุสติ คือหากกายพังเมื่อไหร่ ก็ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น ทุกข์เหล่านี้ก็จักไม่มีอีก ให้ลงตรงกฎของกรรม มนุษยชาติพึงประสบกรรมนี้มาแล้ว มิใช่แต่ปัจจุบันชาติ ในอดีตก่อน ๆ มนุษย์ก็พบกับกฎของกรรมอย่างนี้มาแล้วนับภพชาติไม่ถ้วน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ใกล้ ๆ นี้ก็คือ นครเชียงแสนที่จมถล่มลงใต้กระแสน้ำนั้นประการหนึ่ง หรือจักเอาในพระสูตร พระเจ้ากัมปนาทซึ่งสร้างปราสาททองคำ ๆ นั้นก็จมลงใต้น้ำ ให้พิจารณาไปตามนี้จักได้สบายใจ เพราะจักได้เห็นธรรมดาของกฎของกรรม เรื่องน้ำท่วมจึงไม่ใช่เรื่องแปลก จักไปฝืนกฎของกรรมนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เมื่อพิจารณาให้ลงกฎของกรรม เห็นธรรมดาแล้วจิตก็จักไม่ดิ้นรน มีความสบายใจ เพราะไม่รู้จักทุกข์ไปเพื่อประโยชน์อันใด ธรรมดาของโลกมันเป็นอย่างนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 12-09-2011 เมื่อ 12:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา