ชื่อกระทู้: ทสกะ คือ หมวด ๑๐
ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 19-04-2018, 13:15
ตัวเล็ก's Avatar
ตัวเล็ก ตัวเล็ก is offline
กรรมการเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 10,524
ได้ให้อนุโมทนา: 215,913
ได้รับอนุโมทนา 736,895 ครั้ง ใน 35,896 โพสต์
ตัวเล็ก is on a distinguished road
Default

สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นที่เป็นเหตุให้ถือตัว) ได้แก่ เห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้เป็นตัวตน เป็นตัวกู

๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ) ได้แก่ ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อศาสนาใดดี จะเชื่อคำสอนของใครดี ลังเลอยู่ ไม่รู้ว่าจะนับถือศาสนาใด มัวแต่สงสัยอยู่ จึงหาที่พึ่งทางใจไม่ได้

๓. สีลัพพตปรามาส (การรักษาศีลไม่จริงจัง) ได้แก่ คือการรักษาศีลไม่จริงไม่จัง รักษาแบบลูบ ๆ คลำ ๆ บางคนก็รักษาศีลแบบทำเป็นเล่น อย่างเช่นว่า รักษาศีล ๘ เฉพาะเวลาที่ไม่ได้กินข้าวเย็น เป็นต้น

๔. กามราคะ (ติดในรสของกาม) ได้แก่ การยึดติดสิ่งของที่เห็นว่าสวยงาม เสียงไพเราะ เป็นต้น

๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งทางจิต) ได้แก่ ความหงุดหงิด ความขัดเคืองภายในใจ

สังโยชน์ ๕ ข้อนี้เป็นกิเลสเบื้องต่ำ มีชื่อเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ใน ๕ ข้อนี้ ข้อ ๑, ๒ และ ๓ พระโสดาบันตัดได้ ข้อที่ ๔ และ ๕ พระสกทาคามี ทำให้เบาบางลงได้ แต่พระอนาคามีสามารถตัดได้

๖. รูปราคะ (ความติดใจในรูปธรรม) ได้แก่ ความติดในรูปธรรมอันประณีตที่มีได้ด้วยอารมณ์แห่งรูปฌาน

๗. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์อรูปธรรม) ได้แก่ ความติดใจในอรูปฌาน หรือติดใจในอรูปภพ

๘. มานะ (ความถือตัว) ได้แก่ มานะทั้ง ๙ อย่าง

๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ได้แก่ ความคิดไปเรื่อย ๆ หาสาระมิได้ เป็นการสร้างวิมานในอากาศ

๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้) ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ ถือเป็นอันสำคัญที่สุดในสังโยชน์ ๑๐

สังโยชน์ข้อที่ ๖, ๗, ๘, ๙ และ ๑๐ จัดเป็นกิเลสเบื้องสูง มีชื่อเรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ส่วนหลังนี้พระอรหันต์สามารถตัดได้โดยสิ้นเชิง
__________________
มารใช้ คนทุกคน ของทุกชิ้น สัตว์ทุกตัว เป็นเครื่องมือในการขวางเรา โดยเฉพาะคนที่เรารักมากที่สุด
(-/\-) (-/\-) (-/\-)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตัวเล็ก ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา