ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 25-03-2009, 12:15
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

เรือพระราชพิธี

แรกเริ่มเดิมที "เรือพระราชพิธี" นั้นหามีไม่ คงมีแต่เรือรบโบราณ ซึ่งใช้ในแม่น้ำและออกสู่ท้องทะเล ต่อมาการรบทัพจับศึกในแม่น้ำหมดสิ้นความสำคัญไปทีละน้อย เรือรบในแม่น้ำซึ่งเป็นเรือยาวทำด้วยไม้ ใช้ฝีพายล้วนเหล่านี้ จึงกลายมาเป็นเรือที่ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์ไทยเสด็จฯ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคจนเท่าทุกวันนี้


ในประวัติศาสตร์การรบพุ่งของชาติไทยเรา อันมีราชธานีเก่าคือกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแวดล้อมด้วยแม่น้ำลำคลองมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เรือรบในแม่น้ำเป็นสำคัญ และในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็ทรงมียุทธวิธีที่จะรักษาพระนครโดยอาศัยกำลังทัพเรือ จึงทรงประดิษฐ์เรือไชยและเรือรูปสัตว์ขึ้น ต่อมาก็ยังประดิษฐ์เรือกราบขึ้นอีกชนิดหนึ่งด้วย เรือรบโบราณเหล่านี้ จึงแบ่งประเภทออกเป็น ๔ ชนิด คือ

เรือแซ เป็นเรือโบราณของไทยซึ่งใช้ในแม่น้ำ เหตุที่ชื่อ "แซ" นั่น เข้าใจว่ามาจากคำว่า "เช" หมายถึง แม่น้ำ เรือชนิดนี้ใช้ในการลำเลียงพล ศาสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ เสบียงกรัง เป็นเรือที่แล่นค่อนข้างช้า

เรือไชย เป็นเรือที่ใช้ลำเลียงพล ศาสตรวุธ ยุทธโธปกรณ์ และเสบียง แล่นเร็วกว่าเรือแซ

เรือรูปสัตว์ เรือชนิดนี้จะทำหัวเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ มีครุฑ พญานาค เป็นต้น ใต้รูปสัตว์ก็จะมีช่องวางปืนใหญ่ ใช้เป็นเรือปืนด้วย

เรือกราบ มีลักษณะคล้ายเรือไชย แต่แล่นเร็วกว่า

เรือรบโบราณของไทยเราที่ตกทอดมาเป็นเรือพระราชพิธีนี้ แม้จะสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสงคราม แต่ก็เป็นเรือที่แกะสลัก ปิดทองเป็นลวดลายวิจิตรสวยงาม โดยเฉพาะหัวเรือและท้ายเรือจะเป็นส่วนที่สวยงามมาก บ้างก็เป็นรูปสัตว์ ยักษ์ และลิง ในวรรณคดีไทย ส่วนลำเรือนั้น ขุดจากซุงทั้งต้น ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ตะเคียน เรือบางลำทำจากต้นไม้ที่ใหญ่มาก เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีความยาวถึง ๔๔.๙๐ เมตร และความกว้าง ๓.๑๕ เมตร และเรือทุกลำล้วนใช้ฝีพายจำนวนมาก ในการแล่นเรือให้เคลื่อนไปอย่างคล่องแคล่วราวกับมีชีวิตชีวา

อย่างไรก็ดี เรือพระราชพิธี เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมถึงเรือชนิดต่าง ๆ ซึ่งใช้ประกอบในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยที่เรือเหล่านี้ล้วนแบ่งลักษณะหน้าที่ออกไปดังนี้ คือ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-09-2012 เมื่อ 03:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา