ดูแบบคำตอบเดียว
  #63  
เก่า 20-07-2009, 01:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,586
ได้ให้อนุโมทนา: 151,727
ได้รับอนุโมทนา 4,411,626 ครั้ง ใน 34,176 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หลวงพ่อกล่าวถึงภาษาบาลีว่า "คำในภาษาบาลีมีจำนวนมากที่ความหมายเพี้ยน อย่างเช่นคำว่าสังขาร สังขารนี่เรามักจะนึกถึงร่างกายของเราเลย แต่จริง ๆ ไม่ใช่ ร่างกายของเราในบาลีเรียกว่า รูป

สังขารเป็นอารมณ์ใจนึกคิดปรุงแต่ง คอยแต่งไปเรื่อย ๆ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ไปเรื่อย
อีกคำหนึ่งก็คือวิญญาณ ตามความหมายบาลีก็คือ ประสาทรับรู้ รู้สึกทุกข์ รู้สึกสุข รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกเฉย ๆ แต่ความหมายที่พวกเราได้ยินก็คือ ผีจะมาหลอก ความหมายมันเพี้ยนจากบาลีไปเยอะ

พระพุทธเจ้าเวลาตรัสธรรมะเป็นภาษาบาลีอย่างหนึ่ง พอพระเถระรุ่นหลังบันทึกพระพุทธวจนะเป็นภาษาบาลีอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่มีการพัฒนาแล้ว พัฒนาสูงสุดไปแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นความหมายกี่ปี กี่ชาติก็จะไม่เปลี่ยน แต่ว่าอย่างของเราพอใช้ไป ๆ ความหมายจะเพี้ยนไปเรื่อย แล้วมันจะทำให้ส่วนของธรรมะที่ดีนั้นเสียไป

ขณะที่บาลีไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ แต่ว่าความหมายในภาษาระยะหลังที่เปลี่ยนไป ก็เลยทำให้มีผู้อธิบายพระไตรปิฎกเพี้ยน รุ่นแรกที่เขาอธิบายพระไตรปิฎก เรียก อรรถกถา (ขยายความจากพระไตรปิฎก) คำพูดใดที่มันไม่ตรงกับยุคสมัย หรือว่าใช้ในอีกยุคสมัยหนึ่งแล้ว ความหมายไม่ชัดเจน ท่านจะอธิบายในอรรถกถา พอยุคหลังจะมีอธิบายอรรถกถาเรียก ฎีกา พอยุคถัดไปมาอธิบายฎีกา เรียกอนุฎีกา ไล่ไปเรื่อย มาปัจจุบันเป็นเกจิอาจารย์ ก็คือ อธิบายอนุฎีกา บางอย่างเอามาประยุกต์ ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ

อย่างที่ว่าพอมาถึงยุคของเรา สังขารก็เปลี่ยน วิญญาณก็เปลี่ยน เราก็มาอธิบายว่ามันควรจะเป็นอย่างไร"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 24-07-2015 เมื่อ 13:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา