ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 09-07-2011, 22:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,899 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

สมาธิทรงตัวสูงมากเท่าไร ความสงบนิ่งของจิตยิ่งมีมากเท่านั้น ก็แปลว่าเราได้หยุดพักมากเท่านั้น แต่ว่านี่เป็นการหยุดแค่ในสภาพความฟุ้งซ่านของจิตเท่านั้น ยังไม่สามารถที่จะเชื่อถือได้ เพราะว่าถ้าเผลอเมื่อไรก็จะฟุ้งอีก

เราต้องไปพิจารณาเห็นโทษว่า การที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดนั้น สร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เราอย่างไร ตาเห็นรูป ถ้าหากว่าชอบใจก็อยากได้อยากมี ต้องดิ้นรนไขว่คว้าหามา เป็นการสร้างความทุกข์ให้แก่เรา ถ้าไม่ชอบใจก็จะขับไสไล่ส่ง ก็เป็นการสร้างความทุกข์ให้แก่เรา

หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสก็เช่นกัน ก็จะเลือกเอาสิ่งที่ชอบใจ และผลักไสไล่ส่งสิ่งที่ไม่ชอบใจ สิ่งที่เราชอบใจนั้นเป็นส่วนของราคะและโลภะด้วย ส่วนที่ไม่ชอบใจนั้นเป็นส่วนของโทสะ ก็แปลว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ล้วนแต่สร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่เราทั้งคู่

ดังนั้น..ทันทีที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสนั้น เราต้องหยุดให้ทัน อย่าให้เข้าไปสู่ใจ อย่าให้ใจนำไปนึกคิดปรุงแต่งได้ ถ้าเราหยุดไม่ทันก็จะสร้างทุกข์สร้างโทษ สร้างความเหน็ดเหนื่อยให้กับสภาพจิตใจของเรา เพราะปรุงแต่งไม่หยุด แต่ถ้าเรารู้เท่าทัน หยุดโดยไม่นึกคิดปรุงแต่งได้ สภาพจิตก็จะได้รับการพักอย่างแท้จริง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-07-2011 เมื่อ 02:36
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา