ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 10-01-2012, 11:06
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default ให้เห็นความจริงของชีวิตหรือสัจธรรม ๕

ให้เห็นความจริงของชีวิตหรือสัจธรรม ๕

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกธรรมไว้หลายเรื่อง มีความสำคัญดังนี้

๑. เรื่องให้เห็นความจริงของชีวิตร่างกายหรือสัจธรรม ๕ มีความสำคัญดังนี้

๑.๑ ให้เห็นความจริงของชีวิต การเจริญพระกรรมฐานจักให้ได้ผลดี จักต้องเข้าหาความจริงของชีวิตร่างกายทุกครั้งไป ให้ถามตนเองดูว่า ร่างกายนี้เมื่อเกิดมาแล้ว มีความแก่ลงไปเป็นธรรมดาใช่หรือไม่ มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาใช่หรือไม่ ขณะที่ยังไม่ตายมีความปรารถนาไม่สมหวังเป็นธรรมดาใช่หรือไม่ มีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดาใช่หรือไม่

๑.๒ สัจธรรมเหล่านี้ พึงถามให้เจริญอยู่ในจิต ให้เห็นทุกข์ของการมีร่างกายที่จักต้องประสบกับสภาพเช่นนี้อยู่เป็นปกติ ซึ่งถ้าหากพ้นจากสภาวะการเกิดมีร่างกายแล้ว เหตุเหล่านี้ก็จักไม่มีในเรา ให้ถามจิตแล้วให้จิตตอบ จนกว่าจิตจักหน่ายจากความอยากมีร่างกายอย่างนี้อีก และพยายามรักษาจิตอย่าให้มีความเศร้าหมอง มองให้เห็นธรรมดาในการมีร่างกายว่า มันมีสภาพเช่นนี้เป็นธรรมดา ให้พิจารณาจนกว่าจิตจักยอมรับสภาพเหล่านี้อย่างไม่มีทุกข์

๑.๓ อนึ่ง เรื่องของคุณหมอ ให้ระวังสุขภาพให้มาก เพราะวัยชรานี้ กระดูกต่าง ๆ ทั้งหลายในร่างกายนี้เริ่มเปราะบาง เสื่อมไปตามหลักธรรมดาของร่างกาย เพราะฉะนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่พึงอยู่ในอิริยาบถเดียวนาน ๆ จักเป็นอันตรายแก่สุขภาพได้โดยง่าย เรื่องอาหารก็พึงระมัดระวัง พึงกินอาหารที่บำรุงกระดูกเอาไว้บ้าง อย่าปล่อยไปตามอัธยาศัย ประหยัดมากเกินไป ก็เป็นการเบียดเบียนสุขภาพของกายและจิตโดยใช่เหตุ อย่าลืมว่า จิตนี้ยังอาศัยกายอยู่ ก็พึงบำรุงรักษากายเข้าไว้ด้วย เมตตาอย่าให้เป็นที่เบียดเบียนจิตมากจนเกินไป

๑.๔ คุณหมอเองก็ไม่ควรประมาทในความตาย ชีวิตเหลือน้อยวันด้วยกันทุกคน ตั้งใจกันเข้าไว้ว่า ทุกลมหายใจเข้าออกคือพระนิพพาน (รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน) อย่ามัวเมาประมาทในชีวิต และจงอย่าห่วงกังวล เรื่องใครจะตายก่อนตายหลัง ขอให้เตรียมจิตให้พร้อมก็แล้วกัน เรื่องของความตายนี้ อายุไม่สำคัญ มีโอกาสตายได้ทุกเวลา

๑.๕ อย่าสนใจในจริยาของผู้อื่น สิ่งที่ควรจักสนใจให้มากคือ อารมณ์จิตของตนเองเมื่อถูกกระทบ โดยเฉพาะธรรมารมณ์ที่เกิดเป็นนิมิตขณะกายหลับพักผ่อน จักมีนิมิตเกิดเข้ามากระทบจิตให้เกิดอารมณ์พอใจ-ไม่พอใจอยู่เสมอ จักเป็นข้อทดสอบอารมณ์อยู่เป็นปกติธรรม ยิ่งในขณะที่ร่างกายไม่ดีหรือเจ็บป่วยมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องรักษากำลังใจให้ดีมากขึ้นเท่านั้น พร้อมกับรักษาอารมณ์จิตคิดถึงพระนิพพานให้มาก (รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน) พร้อมพิจารณาร่างกายเข้าสู่ไตรลักษณ์ เห็นกายเป็นเพียงแค่สภาวธรรมอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และดับไปเป็นธรรมดาอยู่อย่างนั้น เราคือจิตที่เป็นเพียงแค่ผู้อาศัยอยู่ในกายนี้เท่านั้น เห็นทั้งสันตติภายนอกคือ ร่างกาย เห็นทั้งสันตติภายใน คือ อารมณ์จิตของเราที่เกิดดับ ๆ อยู่อย่างนั้น แล้วพยายามวางธรรมภายนอก พิจารณาธรรมภายใน ให้รู้อยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก

๑.๖ ให้สำรวมจิต อย่าให้ห่วงด้วยประการทั้งปวง ประการสำคัญที่สุด คือ ห่วงขันธ์ ๕ ของตนเอง จุดนี้ต้องสอบจิตให้หนัก พยายามอย่าไปเผลอห่วงมันเข้า วิธีคลายห่วงก็ให้พิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงในสัจธรรมทั้ง ๕ เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังและความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านี้มันมาจากไหน มาจากอุปทานขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น ถ้าตัดความห่วงใยในขันธ์ ๕ (ตัดห่วงขันธ์ ๕) ตัวเดียว ก็ตัดได้หมดทุกอย่าง และจักต้องมุ่งตัดในขันธ์ ๕ ของตนเองเป็นประการสำคัญ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 10-01-2012 เมื่อ 15:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 59 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา