ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 14-05-2010, 10:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,238 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าหากมาถึงระดับนี้ เราต้องการจะคลายสมาธิออกมาเมื่อไร ก็สามารถที่จะคลายได้ หรือจะตั้งกำหนดไว้เลยว่า เราจะทรงอยู่ในสมาธิเช่นนี้เป็นระยะเวลานานเท่าไร ก็สามารถที่จะตั้งกำหนดเวลาได้ เมื่อถึงเวลาก็จะคลายออกมาตามที่เราต้องการเอง แต่บางท่านไม่ได้กำหนดว่าจะคลายสมาธิออกมา บางทีตนเองรู้สึกว่าเดี๋ยวเดียว แต่เวลาภายนอกผ่านไปสามวันสี่วันก็มี

ขอให้ท่านทั้งหลายซ้อมปฏิบัติเข้าออกในแต่ละระดับของสมาธินี้ให้คล่องตัวไว้ จะสลับกันไปสลับกันมาก็ได้ จะเข้าตามลำดับก็ได้ จะเข้าย้อนรอยถอยหลังจากมากลงมาน้อยก็ได้ เพื่อสร้างความคล่องตัวให้เกิดกับสภาพจิตของเรา ถ้าสามารถทำได้คล่องตัวแล้ว ต่อไปถ้าหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ ไม่ว่าจะเป็นตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส เราสามารถที่จะดึงจิตของตนหลบหนีจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเข้าไปสู่องค์สมาธิ ทำให้ไม่ต้องไปปรุงแต่งให้ฟุ้งซ่าน

ถ้าท่านทำได้คล่องตัวเช่นนี้แล้ว อย่างสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ที่ประกอบไปด้วยเสียงดัง เราก็สามารถที่จะใช้สมาธินี้หลบหนีได้ ถ้าหากไม่ชอบมาก ก็เข้าสมาธิสูงสุดไม่รับรู้อาการภายนอกไปเลย ถ้าหากอยากรับรู้ว่าเขามีอะไรบ้าง แต่ไม่อยากไปใส่อารมณ์ตามเขา เราก็อาจจะอยู่ในขอบของฌานที่สอง หรือฌานที่หนึ่งก็ได้

เรื่องของลมหายใจเข้าออกนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิทุกระดับชั้น บุคคลจะก้าวเข้าสู่มรรคผลได้ จะต้องมีกำลังของสมาธิเป็นเครื่องประกอบ ไม่ว่าจะเป็นท่านที่ปฏิบัติแบบเจโตวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยใช้กำลังสมาธิข่มกิเลสไว้ก็ดี หรือท่านทั้งหลายที่ปฏิบัติมาในสายของปัญญาวิมุตติ เป็นการใช้ปัญญาพิจารณา จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามสภาพความเป็นจริงของร่างกายแล้วยอมรับก็ดี ทั้งสองอย่างนี้ล้วนแล้วต้องอาศัยกำลังสมาธิทั้งนั้น

ทางสายเจโตวิมุตติเป็นการเริ่มจากการภาวนาโดยตรง ย่อมมีกำลังสมาธิเป็นปกติอยู่แล้ว แต่สายปัญญาวิมุตตินั้นใช้การพิจารณาจนสภาพจิตดิ่งเข้าสู่องค์สมาธิเอง ถ้าหากจิตของเราไม่มีสมาธิที่ทรงตัวเพียงพอ ก็จะไม่มีกำลังในการตัดละกิเลสต่าง ๆ ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-05-2010 เมื่อ 10:45
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา