ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 18-01-2018, 21:20
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ก็แปลว่าในการปฏิบัติธรรมของทุกท่าน จะทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้เลย เพียงแต่ว่าลมหายใจเข้าออกต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไปบังคับ ร่างกายต้องการหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แค่เอาสติกำหนดดู กำหนดรู้ตามไปเท่านั้น

ยกเว้นบางท่านที่ปฏิบัติมานาน สมาธิเริ่มมีความคล่องตัว สามารถทรงตัวในระดับที่ตนเองต้องการได้ ถ้าอย่างนั้นก็จะเหมือนกับท่านบังคับลมหายใจ แต่ความจริงแล้วไม่ได้บังคับ แต่ว่าทันทีที่ท่านคิดจะทรงสมาธิ สภาพจิตก็จะวิ่งเข้าไปสู่สมาธิในระดับที่เราเคยทำได้ เมื่อสมาธิทรงตัว สภาพของลมหายใจก็จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด สมาธิยิ่งทรงตัวสูง ลมหายใจก็ยิ่งเบาลง ถ้าหากว่าทรงตัวในระดับปฐมฌานหยาบอาจจะไม่รู้ถึงลมหายใจไปเลยก็มี

เรื่องคำภาวนา เราจะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ เพียงแต่ขอให้เป็นคนรักเดียวใจเดียว อย่าเปลี่ยนคำภาวนาบ่อย เพราะว่าจิตของเรามีสภาพจำ เมื่อจิตของเรามีสภาพจำ เมื่อถึงเวลาถ้าเราเปลี่ยนคำภาวนา สภาพจิตจะไปจำของเก่า เราต้องเอาสติบังคับให้มาจดจำของใหม่ ก็จะเกิดการยื้อแย่งกันขึ้น บางครั้งทำให้ฟุ้งซ่านเสียการเสียงานไปเลยก็มี

ฉะนั้น...เรื่องของคำภาวนาอย่าถือเป็นสาระ ให้ใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม ยกเว้นการปฏิบัติตามกองกรรมฐานต่าง ๆ เราค่อยเปลี่ยนไปใช้คำภาวนาประจำกองกรรมฐานนั้น ๆ ส่วนการกำหนดลมหายใจนั้น จะกระทบแค่ฐานเดียว ๓ ฐาน ๗ ฐาน หรือว่ารู้ตลอดกองลม ก็แล้วแต่ท่านจะมีความสะดวก
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 19-01-2018 เมื่อ 01:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา