ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 15-02-2012, 09:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,566
ได้ให้อนุโมทนา: 151,678
ได้รับอนุโมทนา 4,410,850 ครั้ง ใน 34,156 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในเรื่องของการประนมมือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไหว้พระ กราบพระ รับศีลก็ตาม ให้ประนมมืออย่างเป็นทางการสักนิดหนึ่ง ถ้าหากว่าตามที่อาตมาเรียนมา ท่านบอกว่าให้ประนมมือยกชิดหน้าอก ปลายมือหันขึ้นประมาณ ๘๐ องศา ถ้าหากว่าต้องการที่จะให้มือที่ประนมอยู่ดูเหมือนดอกบัวตูม ก็ให้เอาหัวแม่มือทั้งสองยัดใส่เข้าไปในฝ่ามือของตน ถ่างกว้างออกไปประมาณเท่าไร ก็ให้กะระยะนั้นเอาไว้แล้วยกหัวแม่มือออกมาแนบชิดกับนิ้วชี้ ก็จะได้การประนมมือที่สวยงามน่าดู

แต่ว่าส่วนหนึ่งการประนมมือของเราเหมือนกับขาดความเคารพ สักแต่ว่าทำไปเท่านั้น บางท่านก็เอามือที่ประนมค้ำคาง บางท่านก็ประนมมือในลักษณะสักแต่ว่าประนมมือ แทบจะออกไปในลักษณะเจ๊กไหว้เจ้าก็มี บางท่านเอานิ้วมือประสานกันในลักษณะเหมือนกับหางปลาก็มี บางท่านประนมมือแต่ปลายมือตกห้อยลงเหมือนกับดอกบัวเหี่ยวก็มี

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดว่า สติ สมาธิของเรายังไม่ทรงตัวพอ จึงทำให้มีอาการแปลกประหลาดต่าง ๆ นานาออกไป และขณะเดียวกันความละเอียดของจิตก็มีน้อย จึงทำให้การแสดงออกซึ่งความเคารพในพระรัตนตรัยนั้น ออกมาในลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ ทำเหมือนกับไม่เต็มใจที่จะทำ เป็นต้น

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นแค่ส่วนเล็กน้อยของการปฏิบัติเท่านั้น แต่ว่าส่วนเล็ก ๆ นี้แหละที่จะชี้ให้เห็นว่ากำลังใจที่แท้จริงของเราเป็นอย่างไร ทำให้นึกถึงการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก พระอานนท์บอกต่อสงฆ์ทั้งหลายว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนที่จะปรินิพพานว่า ในกาลต่อไปข้างหน้า สิกขาบทใดที่เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ไม่เหมาะสมกับยุคสมัย หากสงฆ์ทั้งหลายพึงหวัง สามารถที่จะสวดถอนสิกขาบทนั้นได้

ปรากฏว่าพระมหากัสสปะผู้เป็นประธานสงฆ์ในการสังคายนามีมติว่า ให้คงสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นเอาไว้ พระอรหันต์ทั้งหลายอีก ๔๙๙ องค์ที่เข้าร่วมพิธีสังคายนาพระไตรปิฎกก็เห็นด้วย แต่ว่าครูบาอาจารย์รุ่นหลัง ๆ มาถกเถียงกันว่า สิกขาบทเล็กน้อยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านั้นคืออะไร ?
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-03-2012 เมื่อ 02:40
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา