ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 20-07-2012, 13:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,523
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,284 ครั้ง ใน 34,113 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ทุกคนนั่งในท่าที่สบายของตัว ตั้งกายให้ตรง กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลเข้าไปพร้อมกับลมหายใจ หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลออกมาพร้อมกับลมหายใจ จะเอาแค่ปลายจมูกจุดเดียวเป็นจุดที่รู้สึก หรือว่าต้องการ ๓ ฐาน จมูก อก ท้อง หรือต้องการ ๗ ฐาน หรือต้องการรู้ลมตลอดสายก็ได้ เพียงแต่อย่าให้ความรู้สึกหลุดไปจากลมหายใจเข้าออก ถ้าหลุดไปเมื่อไรให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออกทันที

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นการปฏิบัติธรรมวันสุดท้ายของเดือนนี้ สองวันที่แล้วมาได้กล่าวถึงความดีเบื้องต้นคือศีล ความดีเบื้องกลางคือสมาธิ สำหรับวันนี้ขอกล่าวถึงความดีเบื้องปลาย คือปัญญา

ในไตรสิกขาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวถึงปัญญาไว้ในเบื้องปลาย เป็นการกล่าวถึงตามหลักการปฏิบัติ ถ้าหากศีลของเรามั่นคงสมาธิจะทรงตัว ถ้าสมาธิทรงตัวปัญญาจึงจะเกิด เมื่อปัญญาเกิดก็จะไปคุมศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังนี้

ดังนั้น..ปัญญาจึงมาทีหลัง แต่ถ้าในมรรค ๘ นั้น พระองค์ท่านขึ้นด้วยปัญญาก่อน ก็คือสัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง อย่างเช่นการเห็นในอริยสัจ สัมมาสังกัปปะ ความดำริที่ถูกต้อง เช่น ดำริต้องการจะพ้นทุกข์ ดำริในการไม่พยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น ดำริในการออกจากกาม เป็นต้น เมื่อเป็นดังนั้นเราจึงต้องมากล่าวถึงปัญญาในวันสุดท้าย เพราะเป็นการเรียงตามแบบของการปฏิบัติ

เมื่อทุกคนปฏิบัติในสมาธิจนทรงตัวแล้ว โดยธรรมชาติของสมาธิ เมื่อทรงตัวเต็มที่ก็จะคลายออกมาเองโดยอัตโนมัติ ตอนที่สมาธิคลายออกมา ถ้าเราไม่หาสิ่งที่เป็นคุณไว้ในการพิจารณาแล้ว กิเลสก็จะเอากำลังของสมาธินั้นไปฟุ้งซ่านอย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการ เพราะมีกำลังสมาธิหนุนเสริมอยู่

การที่เราจะพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญานั้น มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แบบแรก ก็คือ พิจารณาตามแบบอริยสัจ ๔ อย่างเช่น กำหนดรู้ว่านี่คือทุกข์ นี่คือสาเหตุของการเกิดทุกข์ นี่คือการดับทุกข์ นี่คือหนทางเข้าไปสู่การดับทุกข์ เป็นต้น ต้องรู้เห็นให้ชัดเจน เมื่อรู้เห็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ชัดเจน เราก็อย่าไปสร้างสาเหตุนั้น ความทุกข์ก็จะดับลงได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-07-2012 เมื่อ 13:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา