ดูแบบคำตอบเดียว
  #9  
เก่า 28-09-2015, 16:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,452
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,049 ครั้ง ใน 34,041 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

"พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสมรรค ๘ คือ หนทางที่จะพาเราพ้นทุกข์ เริ่มด้วยสัมมาทิฐิ คือเห็นถูก เห็นชอบ เห็นตามทำนองคลองธรรม สัมมาสังกัปปะ คิดดี คิดถูก คิดชอบ เช่น คิดออกจากกาม คิดพ้นจากกองทุกข์ สัมมากัมมันตะ กระทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติในกาม ไม่ดื่มสุรา ไม่ติดยาเสพติด สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ไม่ผิดทั้งกฎหมายบ้านเมืองและศีลธรรม สัมมาวายามะ เพียรได้ถูกต้อง เพียรถูกอย่างไร ? เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเรา เพียรระมัดระวังอย่าให้กิเลสเกิดขึ้นอีก เพียรสร้างความดีขึ้นในใจของเรา และเพียรระมัดระวังรักษาความดีนั้นให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

สัมมาสติ ท่านบอกว่าสติตั้งไว้ถูกต้อง ต้องตั้งไว้อย่างไร ? ก็ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็คือ เห็นกายในกายไม่ว่าจะเคลื่อนไหวด้วยอิริยาบถใหญ่ เดิน ยืน นั่ง นอน เอาให้ดี ๆ นะ ไม่ใช่ยืน เดิน นั่ง นอน กำลังเดินอยู่นี่นั่งไม่ได้หรอก ใครนั่งได้ก็เก่งมาก ฉะนั้น เดิน แล้วยืน แล้วนั่ง แล้วถึงนอน หรืออิริยาบถย่อย ไม่ว่าจะเหยียดแขน คู้แขน จะกินจะดื่มอะไรก็ตาม มีสติระลึกรู้อยู่ รู้ทันแล้วไม่ไปปรุงแต่งต่อ ไม่ใช่ว่าทำกับข้าวอะไรมารสชาติไม่เอาอ่าวเลย ไปปรุงอย่างนั้นกิเลสก็เจริญงอกงาม

เห็นเวทนาในเวทนา คือ ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายของเราทุกข์เป็นเรื่องปกติ เจ็บป่วย หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดเมื่อย เป็นต้น ความทุกข์ในใจส่วนใหญ่เกิดจากการดิ้นรนของเราเอง อยากได้อย่างนั้น อยากได้อย่างนี้ ไม่อยากได้อย่างนั้น ไม่อยากได้อย่างนี้ เป็นกิเลสทั้งหมด อยากได้เป็นกิเลส แล้วไม่อยากได้ทำไมถึงเป็นกิเลส ? เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่อยากแต่เป็นกิเลสเพราะอยากที่จะไม่เป็นอย่างนั้น ไม่อยากแก่คืออยากที่จะไม่แก่ ไม่อยากป่วยคืออยากที่จะไม่ป่วย ไม่อยากตายคืออยากที่จะไม่ตาย ก็คืออยากนั้นแหละ ท่านถึงได้เรียกว่า วิภวตัณหา คืออยากอยู่ในสภาพที่กลับข้างกัน"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-09-2015 เมื่อ 17:23
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 65 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา