ดูแบบคำตอบเดียว
  #13  
เก่า 30-05-2009, 05:24
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,368
ได้รับอนุโมทนา 4,405,775 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อหลวงพ่อเงินได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็ไม่ได้ถือโอกาสเอาตำแหน่งนี้ กระทำการเพื่อประโยชน์ตนเองเลย ท่านทำการบวชกุลบุตร เพื่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ได้เห็นแก่ลาภทางสักการะหรือชื่อเสียง ความเป็นใหญ่ หรือหาลูกศิษย์ลูกหาอะไรทั้งสิ้น สังเกตเห็นได้จากการรับคนเข้ามาบวช ท่านก็ตั้งกฎเกณฑ์ไว้ เป็นการพูดปากเปล่าบอกชาวบ้านให้รู้ทั่วกันว่า

"การที่จะเข้ามาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้านั้นต้องเข้ามาอยู่วัดเสียก่อน เพื่อฝึกหัดอบรมให้มีนิสัยปัจจัยเสียก่อน จึงจะบวชเป็นพระได้ การบวชจึงจะเป็นเนื้อนาบุญ ได้กุศลผลบุญโดยแท้จริง"

การสั่งสอนอบรมพระภิกษุหลวงพ่อก็พูดอยู่เสมอว่า
"พระภิกษุก็เหมือนเนื้อที่นา ต้องเป็นเนื้อนาดี ดินดี การหว่านพืชข้าวลงไป จึงจะได้ผลงอกงาม การเป็นพระเนื้อนาไม่ดี ก็ไม่มีใครเขาอยากจะหว่านพืช คือทำบุญให้ เพราะรังแต่จะสูญเสียเปล่า เป็นข้าวที่เฉา ม้าน หรือรวงลีบ ไม่ได้ผลอะไรตอบแทน"
"อีกอย่างหนึ่ง พระภิกษุมาบวชแล้วต้องเรียน จึงจะชื่อว่าบวชเรียนโดยแท้จริงตามคำโบราณ ไม่ได้เรียนเพื่อเอาประกาศนียบัตรเป็นเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิเหมือนทางโลก ที่เขาต้องการเอาไปอวดคนหรือนายเพื่อรับเข้าทำงาน การเรียนของพระสงฆ์เป็นการเรียนศึกษาพระธรรมวินัยให้รู้ไว้ตามภาวะตามหน้าที่การงานของตนเท่านั้น คือเป็นพระก็ต้องเรียนรู้เรื่องของพระให้เข้าใจ มิฉะนั้นก็จะได้ชื่อว่า บวชเสียผ้าเหลือง สึกก็เปลืองผ้าลาย"


หลังจากสวดมนต์ไหว้พระ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นแล้ว หลวงพ่อก็อบรมพระ วิธีการอบรมก็พูดจาสนทนาธรรมกันตามธรรมดา ท่านค่อย ๆ พูดเลียบเคียงหว่านล้อมทีละน้อย จนผู้ฟังเพลิน มีเกล็ดขำ ๆ เรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ มาเล่าประกอบ แล้วสุดท้ายก็วกเข้าหาจุดที่ตั้งใจสอน เช่นถ้าเห็นพระภิกษุรูปใดชอบเปลือยกายท่อนบน ตามปกตินิสัยของชาวนาชาวไร่ ตามบ้านนอกเมื่ออยู่กับบ้าน ท่านก็จะเล่าอะไรต่ออะไรเกี่ยวกับเรื่องเปลือยกายเสียก่อน จึงจะถึงจุดว่า

"เป็นพระสงฆ์นั้นเป็นรูปกายที่ชาวบ้านเขายกมือพนมกราบไหว้ ถ้าปล่อยกายปล่อยตัวเหมือนชาวบ้านแล้ว ก็จะไม่มีอะไรให้อยู่ในฐานะอันชาวบ้านเขาจะกราบไหว้ได้ เขาก็จะหมดศรัทธาเลื่อมใสในพระสงฆ์ และในพระรัตนตรัยด้วย การสังวรระวังอยู่ในวินัยจึงเป็นสมบัติของพระสงฆ์ เพื่อเขาจะได้ยกมือกราบไหว้ได้โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ"

แล้วหลวงพ่อก็จะเล่าเกล็ด เล่านิทาน เล่าชาดกให้ฟังประกอบเรื่องจนผู้ฟังเห็นดีเห็นชอบ ไม่เบื่อหน่าย และยินดีที่จะประพฤติปฏิบัติตาม

ในส่วนตัวของหลวงพ่อเอง ก็ตั้งอยู่ในวินัยเป็นตัวอย่างด้วย จนพระภิกษุที่บวชอยู่ในวัดดอนยายหอม เมื่อสึกออกไปก็เอาไปนินทาว่าร้ายหลวงพ่อไม่ได้เลย ไม่เหมือนพระบางวัด พอสึกออกไปก็เอาความไม่ดีของพระในวัด และของสมภารไปเล่านินทากันสนุกปาก เล่าเป็นนิทาน เรื่องเถรกับยายชีต่าง ๆ นานา เป็นเรื่องลามก จนคนไม่อยากเข้าวัด คนเล่าก็ไม่อยากหันหน้าเข้าวัด กลายเป็นคนเบื่อวัดเกลียดพระไปก็มี สรุปว่าพระก็ไม่เห็นมีอะไรดีวิเศษกว่าชาวบ้านเลย บางทีแย่กว่าฆราวาสก็มี เรื่องอย่างนี้พระพุทธศาสนาขาดทุนป่นปี้ แต่เรื่องอย่างนี้วัดดอนยายหอมไม่มีเลย มีแต่เอาเรื่องคุณงามความดีของหลวงพ่อไปยกย่องสรรเสริญกันทั่วทุกตัวคน ชื่อเสียงของหลวงพ่อเงินจึงโด่งดังออกไปนอกวัดไกลออกไปทุกที เพราะว่ากลิ่นและสีของหลวงพ่อเหมือนกลิ่นและสีของดอกไม้อันหอมหวนทวนลมได้

หอมกลิ่นดอกไม้ที่ นับถือ
หอมแต่ตามลมฤา กลับย้อน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 30-05-2009 เมื่อ 16:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา