ดูแบบคำตอบเดียว
  #30  
เก่า 12-06-2011, 20:27
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,603
ได้ให้อนุโมทนา: 151,769
ได้รับอนุโมทนา 4,412,248 ครั้ง ใน 34,193 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ตอนเข้าสมาธิกรรมฐาน ดูลมสามฐาน ใช้คำบริกรรมพุทโธและยกจิตไว้ที่กระหม่อมค่ะ เกิดสภาวธรรมก็คือ จิตไปจับอยู่ที่กระหม่อมระยะหนึ่ง จิตก็ลืมลมหายใจ พอมีสติรู้ว่าลมหายใจเป็นอย่างไรก็ตัดกลับมาที่ลมหายใจ รู้สึกว่าละเอียดขึ้น แต่สภาวะตรงนั้นที่สัมผัสจะเบา ๆ ตรงที่กระหม่อม
ตอบ : ของเราทำข้ามขั้นตอนไปจ้ะ พวกนั้นต้องคนที่ฝึกมาอย่างชำนาญมาแล้ว ถ้าหากว่าทั่ว ๆ ไปเขาให้เอาความรู้สึกทั้งหมดไหลไปกับลมหายใจ ลมหายใจไหลเข้าเราไหลตามไปด้วย ลมหายใจไหลออกเราไหลตามไปด้วย ถ้าหากว่าเรายังไม่ชำนาญแล้วไปทำอย่างนั้นก็จะงง ๆ ว่านี่คืออะไรกันแน่

ถาม : สงสัยว่าสิ่งที่กระทำอยู่ เอาจิตไปจับอยู่ที่กระหม่อม ก็เหมือนกับการที่จิตระลึกรู้อยู่ที่เดียว โดยการบังคับให้อยู่ และลืมกายลืมใจหรือเปล่าคะ ?
ตอบ : จริง ๆ แล้วใช้ได้จ้ะ เพราะทำให้จิตสงบแล้วนิวรณ์กินใจของเราไม่ได้ แต่ว่าจะไม่ทรงตัวมากไปกว่านั้น
ถ้าจะให้อารมณ์ใจทรงตัวมากไปกว่านั้น ความรู้สึกทั้งหมดต้องไหลไปกับลมหายใจเข้าออกโดยไม่ไปอยู่ที่อื่น กำหนดรู้ลมตลอดไปเลย ยิ่งละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งกำหนดรู้ชัดขึ้น ท้ายที่สุดก็จะไม่มีฐานลม คำว่าไม่มีฐานเพราะว่ารู้ตลอดตั้งแต่เข้ายันออกตลอดทางเลย

ถาม : แล้วการพักที่ฐานที่กระหม่อมเป็นอย่างไรคะ ?
ตอบ : ไม่เป็นอย่างไร เป็นการแยกจิตไปอยู่ที่หนึ่ง แล้วความรู้สึกอยู่อีกที่หนึ่งเท่านั้นเอง สำหรับคนที่ชำนาญมาก ๆ เขาแยกได้เป็นสิบ ๆ ที่พร้อมกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-06-2011 เมื่อ 02:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 199 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา