ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 05-01-2012, 08:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,367
ได้ให้อนุโมทนา: 150,682
ได้รับอนุโมทนา 4,397,011 ครั้ง ใน 33,956 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

อีกอย่างหนึ่งก็เรื่องของสัตว์เลี้ยง จำไว้ให้แม่น ๆ ว่า ไม่มีสัตว์ตัวใดอยากจะโดนขัง ถ้าเราเลี้ยงแล้วต้องจับต้องขัง ถ้าไม่มีความดีอื่นช่วยเลย ตายเมื่อไรจะไปเกิดเป็นเวมานิกเปรต* ออกจากวิมานไม่ได้ ออกมาเมื่อไรกงจักรพัดหัวขาดเมื่อนั้น..!

ฉะนั้น..ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สถานที่นี้อย่าไปแสวงหาสัตว์เลี้ยงมาเพิ่มอีก ใครเป็นคนเอามาคนนั้นรับผิดชอบ เพราะว่าพวกเราไม่ใช่คนช่างสังเกต ไม่รู้หรอกว่าพวกสัตว์นั้นลำบากขนาดไหน

สัตว์จะมีภาษากายบอกด้วยอาการ ภาษาเสียงบอกด้วยเสียง ภาษาใจบอกด้วยความคิด แต่เราเองดูไม่ออกสักอย่างหนึ่งแล้วไปเอามาเลี้ยง โดยเฉพาะไม่รู้ว่าเขากินอะไร เขาอยู่อย่างไร

ชะนีกินอะไรมากหน่อยก็ท้องเสีย ท้องร่วงตายเอาง่าย ๆ โดนความเย็นโดนความชื้นหน่อยก็ปอดบวมตายเอาง่าย ๆ กลายเป็นการทรมานสัตว์ ไม่ใช่ว่ารักสัตว์แล้วดูแลไม่เป็น

เหมือนอย่างกับบางวัด เต่าเต็มสระไปหมด โยนให้กินแต่ผักบุ้ง เขาสร้างเวรสร้างกรรมให้เต่าขนาดไหน เพราะเต่าเป็นสัตว์กินเนื้อ ดันไปเชื่อเพลงบ้า ๆ สมัยโบราณ ชื่อเพลงเต่ากินผักบุ้ง **แล้วก็เอาผักบุ้งให้กินอยู่ตลอด ที่เต่ายอมกินเพราะไม่มีอะไรจะกิน..!

อย่างพวกลิง ค่าง ชะนี จะต้องกินพวกเนื้อเป็นระยะ เขาต้องหาแมลง หาสัตว์เล็ก ๆ กิน แล้วอาหารการกินก็ไม่ใช่ว่าซ้ำซากจำเจอยู่ทุกวัน ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ


หมายเหตุ :
*พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๘ ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

**เพลงเต่ากินผักบุ้ง เป็นเพลงอัตราสองชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ ทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้เป็นเพลงลา โบราณาจารย์ทางดนตรีไทยนำเพลงนี้เรียบเรียงไว้ในเพลงช้าเรื่องเต่ากินผักบุ้ง ประกอบด้วยเพลงเต่ากินผักบุ้ง เต่าเห่ เต่าทอง เพลงเร็วเต่ากินผักบุ้งและเพลงลา เฉพาะทำนองเพลงเต่ากินผักบุ้ง มี ๓ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ และ ๓ มี ๒ จังหวะ ในการนำเพลงเต่ากินผักบุ้งสองชั้นมาร้องเป็นเพลงลานั้น นักดนตรีได้สร้างทำนองการร้องว่า “ดอก” ไว้ในทำนองท่อนที่ ๒ เพื่อเปิดโอกาสให้เครื่องดนตรีเช่น ปี่ ซอ ฯลฯ ได้เป่าหรือสี แสดงความสามารถในการเลียนเสียงร้อง และอวดความสามารถทางดนตรีของตน

เพลงเต่ากินผักบุ้งสองชั้นนี้ มีนักดนตรีนำทำนองไปแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้น โดยคงการว่า“ดอก”ไว้ตามลักษณะทำนองของอัตราสองชั้น มีประวัติอธิบายสองนัย คือ ครูเพ็ง นักดนตรีไทยมีชื่อท่านหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นทางหนึ่งเรียกชื่อเพลงใหม่ว่าเพลงปลาทอง อีกท่านคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงนิพนธ์ขยายเป็นอัตราสามชั้นไว้เพื่อให้แตรวงมหาดเล็กบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำนองที่ทรงนิพนธ์ขยายนี้ ได้เรียกชื่อใหม่ว่าเพลงปลาทอง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ นายมนตรี ตราโมท นำทำนองสองชั้นมาแต่งตัดเป็นอัตราชั้นเดียว และนำทำนองทั้งสามอัตราชั้นมาบรรเลงติดต่อกันเป็นเพลงเถา ส่วนชื่อของเพลงยังคงเรียกเหมือนเดิมว่า เพลงปลาทอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-01-2012 เมื่อ 11:24
สมาชิก 83 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา