ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 28-10-2011, 12:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,523
ได้ให้อนุโมทนา: 151,451
ได้รับอนุโมทนา 4,406,214 ครั้ง ใน 34,113 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..เราจะเห็นว่ามรรค ๘ ก็คือปัญญา ศีล สมาธิ หรือที่เราเรียกว่า "ไตรสิกขา" นั่นเอง สำหรับพวกเราแล้ว ศีลถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าหนักใจ เราสามารถระมัดระวังรักษาศีลทุกสิกขาบทเอาไว้ได้ แต่ว่าให้เพิ่มความละเอียดยิ่งขึ้น ในระดับที่ว่าไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองแล้ว ไม่ยุยงให้ผู้อื่นกระทำการละเมิดศีล และไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นล่วงละเมิดในศีล

ในเรื่องของสมาธินั้น เป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับพวกเราทั้งหลายในตอนนี้ เพราะว่าถ้าขาดสมาธิ สติก็ไม่ว่องไว ไม่แหลมคม ทำให้รู้เท่าทันกิเลสไม่ได้ หรือว่าถ้าหากรู้เท่าทันกิเลสได้ แต่กำลังสมาธิไม่เพียงพอ ก็ขาดสิ่งที่จะฉุดรั้งหักห้าม ไม่ให้เราล่วงละเมิดในสิ่งที่เป็นกิเลสทั้งปวง

ดังนั้น..ในการปฏิบัติแต่ละครั้งของพวกเรา หลังจากที่ทบทวนศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ขอให้ทุกคนทำใจให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราให้เป็นปกติ ลมหายใจเข้าจะผ่านจมูก..ผ่านอก..มาสุดที่ท้อง ลมหายใจออกจะผ่านท้อง..ผ่านอก..มาสุดที่ปลายจมูก ก็ให้ตามดูตามรู้เอาไว้ ส่วนจะทรงเป็นสมาธิขั้นใดก็ตาม นั่นเป็นเรื่องของผลที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรา

ถ้าเรามัวแต่ปฏิบัติเพื่อหวังว่าจะได้ผลอย่างนั้น ได้ผลอย่างนี้ เคยทำได้อย่างนั้นอย่างนี้ แล้วอยากจะทำได้อย่างนั้นอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นสมาธิของท่านจะไม่ทรงตัว เพราะจิตส่งส่ายวุ่นวายไปเรื่อย

เมื่อท่านมีลมหายอยู่ ก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจ มีคำภาวนาอยู่ ก็ให้กำหนดรู้คำภาวนา ถ้าลมหายใจเบาลง ก็กำหนดรู้ว่าลมหายใจเบาลง คำภาวนาหายไป ก็กำหนดรู้ว่าคำภาวนาหายไป อย่าไปดิ้นรนอยากหายใจใหม่ อย่าไปดิ้นรนอยากภาวนาใหม่ ให้เรากำหนดความกำหนดรู้สึกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าตอนนั้นให้ชัดเจนไว้ก็พอ สภาพจิตจะดิ่งลึกเข้าไปหาสมาธิที่ลึกกว่านั้นไปเอง

ส่วนใหญ่แล้วพวกเราพอถึงเวลาลมหายใจหายไป สติก็ขาดไปด้วย เมื่อสติคืนมาก็รีบตะเกียกตะกายหาลมหายใจใหม่ เท่ากับว่าเราย้อนกลับไปนับ ๑ ใหม่ ทั้งที่เราขึ้นบันไดไปตั้งเยอะแล้ว ใกล้จะถึงจุดหมายชั้นบนแล้ว เราก็ย้อนกลับมาขั้นแรกใหม่เสียทุกที จึงทำให้การปฏิบัติของเราไม่ก้าวหน้า
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-10-2011 เมื่อ 14:03
สมาชิก 60 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา